วันจันทร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2551

วัยรุ่น (กลุ่มชะนี)

สมาชิกในกลุ่ม วัยรุ่น
1.นางสาวพัชราพรรณ เพียชิน 49010521012
2.นางสาวรัตนา พะขุนทศ 49010521015
3.นางสาวเปรมกมล แฟงคล้าย 49010521410
4.นางสาวปุณฑรีก์ สุทธิชาติ 49010521409
5.นางสาวปาริฉัตร จันทะรถ 48010820506
6.นายจีรภัทร วงศ์วทัญญู 48010512002
7.นางสาวอุไรวรรณ บุญโจม 48010820559

8.นายณัฐพล เลือดขุนทด 48010512047
1.วัยรุ่น
ตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน ได้มีผู้สังเกตเห็นความละเอียดอ่อน ความสับสนทางจิตใจของเด็กในวัยนี้ จึงหาทางช่วยเหลือแก้ไขประคับประคองเขาให้ผ่านพ้นช่วงวัยนี้ด้วยดี ให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีสมรรถภาพ สามารถรับผิดชอบต่อตัวเอง ต่อครอบครัว ต่อสังคมได้ ดังมีตัวอย่างเช่น คนเผ่าหนึ่งในทวีปแอฟริกาเป็นชาวป่ากล้าแข็ง มีธรรมเนียมให้ขับเด็กชายวัยรุ่นไปอยู่ป่าอย่างโดเดี่ยว ต่อสู้ภยันตรายรักษาชีวิตด้วยตนเองเป็นเวลานับปี เมื่อครบเวลาที่กำหนดให้เขาเอาตัวรอดกลับคืนมาสู่เหย้าเรือนได้ ก็จัดพิธีต้อนรับเป็นเกียรติยศใหญ่ ศาสนาบางลัทธิจัดพิธีกรรมเป็นพิเศษเพื่อประกาศและต้อนรับการเข้าสู่วัยรุ่นของ ศาสนิกชนเด็กหญิงชาย สังคมไทยสมัยก่อนประกาศการย่างเข้าสู่วัยรุ่นของเด็กหญิงชายด้วยพิธีโกนจุก พิธีกรรมต่างๆ ที่คนสมัยก่อนได้จัดทำขึ้นให้แก่เด็กหญิงชายที่เข้าสู่การเป็นวัยรุ่นเหล่านี้ มีผลจิตวิทยาอย่างลึกซึ้งในแง่ของการปรับตัว การดำเนินชีวิต การเตรียมตัวเพื่อเป็นผู้ใหญ่ที่มั่นคงของวัยรุ่น การยอมรับความเป็นวัยรุ่นทั้งของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีความสัมพันธ์กับเด็ก
นับตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา นักวิชาการหลายสาขา เช่น จิตวิทยา ศึกษาศาสตร์ แพทยศาสตร์ อาชญวิทยา สังคมวิทยา ฯลฯ ทำการศึกษาเรื่องชีวิตจิตใจของเด็กวัยรุ่นอย่างเป็นวิทยาศาสตร์หลายแง่มุม โดยมุ้งมั่นค้นให้พบสาพธรรมชาติตามวัย เพื่อนำความรู้มาช่วยให้เด็กวัยรุ่นเข้าใจตัวเอง สามารปรับตัวให้เข้ากับวิวัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม อีทั้งฝ่ายบุคคลที่มีหน้าที่ทำงานด้านเสริมสร้างพัฒนาการวัยรุ่นก็จะได้เข้าใจ และจะได้ช่วยเหลือเขาอย่างถูกต้อง
ช่วงเวลาวัยแรกรุ่นอายุประมาณ 12-15 ปี คำว่า วัยแรกรุ่น แปลจากศัพท์อังกฤษ puberty คำนี้มาจากภาษาลาติน puberta ซึ้งแปลว่า การเติบโตเป็นหนุ่มสาว เปลี่ยนสภาวะทางร่างกายจากความเป็นเด็กชายเด็กหญิง ร่างกายเติบโตเป็นผู้ใหญ่เกือบเต็มที่ทุกส่วน ลักษณะทุติยภูมิทางเพศซึ้งยังไม่โตเต็มที่ในวัยที่ผ่านมา ก็เจริญสมบูรณ์และทำหน้าที่ของมันได้ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป จึงกล่าวได้ว่า ลักษณะช่วงนี้เป็นช่วงเปลี่ยนวัยของชีวิตทางด้านร่างกาย การเปลี่ยนแปลงทางกายของเด็กวัยรุ่นเป็นต้นเหตุให้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอื่นๆตามมา เช่น ด้านอารมณ์ ลักษณะสัมพันธภาพกับผู้อื่น สมรรถภาพทางสมอง ค่านิยม ทัศนคติ ความนึกคิดเกี่ยวกับตนเอง ฯลฯ
ส่วนในช่วงวัยรุ่นแท้จริง (adolescence) ประมาณอายุ 15-18 , 19-25 นั้น เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ทางด้านร่างกายเต็มที่ เป็นช่วงเปลี่ยนวัยชีวิตทางสังคม อารมณ์ จิตใจ ค่านิยม อุดมคติ ฯลฯ เด็กกำลังเรียน เลียน และทดลองบทบาท เพื่อจะเป็นผู้ใหญ่ในแง่ต่างๆ เช่น อารมณ์ สังคม จิตใจ ความใฝ่ฝัน ปรารถนา ฯลฯ ความเปลี่ยนแปลงและความเป็นไปต่างๆ ในขณะนี้ล้วนเป็นรากฐานของความสนใจความมุ่งหมายในชีวิต อาชีพ ลักษณะของเพื่อน ลักษณะของคู่ครอง ฯลฯ ในวัยผู้ใหญ่ อนึ่ง เมื่อเด็กได้ตั้งใจ หรือตัดสินใจประพฤติปฏิบัติไปอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือแม้หลวมตัวทำผิดพลาดดไปโดยไม่ยั้งคิดบางเรื่องยากที่จะเปลี่ยนแปลงหรือแก้ให้เหมือนเดิมได้อีก
พัฒนาแง่ต่างๆ ของเด็กในวัยนี้มีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อกันและกันเหมือนในวัยอื่นๆ การเปลี่ยนแปลงบางอย่างกะทันหันรวดเร็วไม่แน่นอน เข้าใจค่อนข้างยาก และละเอียดซับซ้อน ทำให้พัฒนาการในระยะวัยรุ่นเป็นช่วงที่น่าสนใจมากช่วงหนึ่ง อนึ่งคำว่า “วัยรุ่น” ในภาษาอังกฤษคือ adolescence ซึ่งมาจากคำภาษาลาตินว่า adolescere แปลว่า “พัฒนาการสู่การเจริญเติบโตพ้นจากความเป็นเด็ก”


พัฒนาการทางกาย
พัฒนาการทางกายเป็นไปในแง่ของความงอกงาม เจริญเติบโตถึงขีดสมบูรณ์ เพื่อทำหน้าที่อย่างเต็มที่ ความเจริญเติบโตมีทั้งส่วนภายนอกที่มองเห็นได้ง่าย เช่น ส่วนสูง น้ำหนัก รูปหน้า สัดส่วนของร่างกาย ลักษณะเส้นผม ฯลฯ และความเจิญส่วนภายใน เช่น การทำงานของต่อมบางชนิด โครงกระดูกแข็งแรงขึ้น การผลิตเซลล์สืบพันธุ์ในเด็กชาย การมีประจำเดือนของเด็กหญิง ฯลฯ ความเจริญเติบโตทางกายมีช่วงหนึ่งที่เป็นระยะพัก เมื่อผ่านพ้นช่วงนี้ไปแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายรวดเร็ว ความสูงของเด็กตอนต้นปีและปลายปีมีความแตกต่างอย่างมาก การสะสมไขมันในร่างกายมีมากกว่าวัยเด็ก โดยเฉพาะเด็กหญิง เด็กที่มีรูปร่างผอมอาจมีร่างกายอ้วนกว่าเดิม ในบางโอกาสจึงเรียกระยะนี้ว่าช่วงไขมัน ระบบการย่อยอาหารและการใช้ประโยชน์จากอาหารทำงานเร็วและมากกว่าเดิม เพราะร่างกายกำลังเจริญเติบโต เด็กจึงหิวเก่ง กินเก่ง กินไม่เลือก ง่วงนอนบ่อย เป็นระยะเวลากำลังกินกำลังนอน กล้ามเนื้อของเด็กชายเจริญมากขึ้น อวัยวะเพศเริ่มทำงาน เสียงของเด็กชายแตกและห้าวขึ้น ตอนต้นๆของวัยนี้ ร่างกายของเด็กไม่ได้สัดส่วน เด็กรู้สึกอึดอัดเก้งก้าง รู้สึกอ่อนไหวง่ายเกี่ยวกับอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย การทำงานของกล้ามเนื้อกับประสาทสัมผัสต่างๆ ของเด็กยังไม่เข้ารูปเข้ารอย เด็กจึงเล่นกีฬาหรืดทำงานที่ต้องใช้ความสามารถทางกล้ามเนื้อ ประสาทสัมผัส และการประสานงานของกล้ามเนื้อกับประสาทสัมผัสได้ไม่สู้ดี สุขภาพโดยทั่วไปของเด็กวัยนี้ดีกว่าวัยที่ผ่านมา
เปรียบเทียบพัฒนาการทางกายของเด็กหญิง-ชายวัยรุ่น
1.ความต่าง
หญิง ชาย
เด็กหญิงวัยแรกรุ่น เด็กชายวัยแรกรุ่น
-มีหน้าอก -เส้นผมย้อยไปด้านหลัง
-สะโพกขยาย -มีขนที่หน้า
-มีไขมันเพิ่มที่ต้นขา -หลอดเสียงยาวขึ้น
-ไหล่ขยายกว้างขึ้น
-มีขนตามหน้าอก
2.ความเหมือน
-มีการเปลี่ยนแปลงที่ผิวหนังทำให้เป็นสิวง่าย
-กล้ามเนื้อโครงกระดูกเพิ่มทั้งขนาดและความแข็งแกร่ง
-มีขนใต้รักแร้
-หัวใจและปอดขยายใหญ่ขึ้น
-ต่อมเหงื่อเจริญเต็มที่
-มีขนขึ้นที่อวัยวะเพศ
-ความเจริญเต็มที่ของทุติยภูมิทางเพศทำให้สามารถสืบพันธุ์ได้
-มีความเจิญเติบโตของโครงกระดูกส่วนลำตัวและขา แขน
การเริ่มมีประจำเดือน
การมีประจำเดือนที่เกิดในเด็กหญิงเป็นเรื่องที่มนุษย์สนใจมาแต่โบราณกาล จนมีนิยายเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นอันมาก นักจิตวิทยาปัจจุบันได้ศึกษาพบว่า ในสมัยก่อนนั้นเด็กหญิงเริ่มมีประจำเดือนเมื่อมีอายุสูงกว่าเด็กหญิงในปัจจุบันหลายปี สถิติในหลายๆประเทศแสดงแนวโน้มไปในทางเดียวกัน นักจิตวิทยาเชื่อวาการได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่าบำรุงร่างกายอุดมขึ้น เป็นปัจจัยให้เกิดแนวโน้มดังนี้
มีผู้ศึกษาผลกระทบของการเริ่มมีประจำเดือนต่อสภาพอารมณ์ จิตใจของเด็กหญิง และได้รายงานผลการศึกษาว่า ในตอนแรกๆ เด็กหญิงจะรู้สึกกังวล กลัว อาย ตกใจ ดีใจที่จะได้เป็นสาว ฯลฯ สำหรับเด็กที่ได้เรียนรู้เรื่องนี้จากแม่ เพื่อน พี่น้อง จะไม่ค่อยมีทัศนคติทางด้านลบต่อการมีประจำเดือน เด็กๆรุ่นใหม่มักรู้เรื่องนี้ดีก่อนเข้าสู่วัยรู่น ดั้งนั้นปฏิกิริยาทางด้านลบต่อเรื่องนี้จึงไม่ค่อยมีเมื่อเทียบกับเด็กหญิงเมื่อ 40-50 ปีที่แล้ว ผลกระทบทางอารมณ์ จิตใจของเด็กต่อการมีประจำเดือนจะเป็นไปในแง่บวกหรือแง่ลบนั้นขึ้นกับทันคติต่อการมีประจำเดือน เด็กที่รับรู้ว่าการมีประจำเดือนมักมีความเจ็บปวดร่วมด้วย มักรู้สึกปวกเจ๊บเวลามีประจำเดือน เด็กๆ ที่มักมีปัญหาในการมีประจำเดือนอาจมีปัญหากับเพื่อนและมักเป็นเด็กที่มีพัฒนาการโตช้ากว่าวัย หรือ โตเร็วกว่าวัย
ลักษณะทุติยภูมิทางเพศ
ความเจริญเติบโตทางกายที่น่าสนใจคือลักษณะทุติยภูมิทางเพศ นี่คือลักษณะที่แบ่งแยกความเป็นชายหนุ่ม ความเป็นหญิงสาวที่เพิ่งเริ่มการเจริญเติบโตเต็มที่ในระยะวัยแรกรุ่น เช่น ขนาดสะโพกทรวงอกของหญิง เสียงที่แตกของชาย การผลิตเซลล์สืบพันธุ์ของชาย เป็นต้น เหตุการณ์นี้ทำให้เด็กเปลี่ยนแปลงแนวชีวิตย่างเข้าสู่ระยะวัยที่สามารถสร้างชีวิตใหม่แทนตัวได้ และการที่เด็กหญิงและเด็กชายได้รู้และได้สำนึกเช่นนี้ โดยการรู้สึกตามธรรมชาติหรือโดยการเรียนรู้ก็ตาม มีอิทธิพลต่อกระสวนอารมณ์ กระสวนพฤติกรรมทางสังคม ความใฝ่ฝันปรารถนา การเลือกอาชีพ การแสวงหาค่านิยม ความสนใจ การย่างเข้าสู่วันรุ่น และการย่างเข้าส่ารเป็นผู้ใหญ่ ความเจริญเติบโตของลักษณะ
ทุติยภูมิทางเพศมีพัฒนาการ 3 ขั้นตอนจนกว่าจะเจริญเติบโตเต็มที่ ได้แก่
1.per-pubescence เป็นระยะที่ลักษณะทางเพศต่างๆ เริ่มพัฒนาเข้าสู้ขั้นที่ 2 เช่น สะโพกเริ่มขยาย หน้าอกของเด็กหญิงเริ่มเจริญ เสียงเด็กชายเริ่มแตกห้าว แต่อวัยวะสืบพันธุ์ยังไม่ทำหน้าที่
2.pubescene เป็นระยะที่ลักษณะทางเพศส่วนต่างๆ ยังคงพัฒนาสืบไปอีก และอวัยวะสืบพันธุ์เริ่มทำหน้าที่แต่ยังไม่สมบูรณ์เด็กหญิงเริ่มมีประจำเดือนเด็กชายเริ่มสามารถผลิตเซลล์สืบพันธุ์ได้
3.post-pubescene เป็นระยะที่ลักษณะทางเพศทุกส่วนเจริญเติบโตเต็มที่ อวัยวะสืบพันธุ์ของเด็กทั้งสองเพศทำหน้าที่ของมันได้ ถึงเวลานี้เป็นระยะที่เด็กย่างเข้าสู่วัยรุ่นอย่างแท้จริง
ต่อมไร้ท่อ
ต่อมไร้ท่อคือต่อมที่ผลิตฮอร์โมนต่างๆออกมา แต่ไม่มีท่อที่จะส่งฮอร์โมนเหล่านี้ให้ไหลไปยังส่วนต่างๆของร่างกายได้เหมือนต่อมมีท่อ จึงต้องส่งออกไปกับโลหิต ต่อมไร้ท่อเหล่านี้ได้แก่
1.ต่อมพิทูอิตารี่ คือต่อมใต้สมอง แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนหน้า ส่วนกลาง และส่วนหลัง ทั้งสามส่วนสร้างฮอร์โมนต่างกัน และมีหน้าที่ต่างกันด้วย เช่น ฮอร์โมนควบคุมต่อมแอดรีนาล ฮอร์โมนคุมต่อมน้ำนม ฮอร์โมนคุมความเจริญเติบโตของรังไข่และอัณฑะ และคุนการตกไข่ของหญิง
2.ต่อมไพเนียล เป็นต่อมเล็กมีสีแดงเรื่อ อยู่ลึกเข้าไปในสมอง ถ้าบกพร่องไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้ดี ทำให้เด็กชายเป็นหนุ่มเร็วกว่าปกติ เมื่อย่างเข้าสู่วัยหนุ่มสาวต่อมนี้จะหยุดทำงาน
3.ต่อมไทมัส มี 2 ซีก หรือปีก อยู่หลังกระดูกกลางหน้าอก หน้าที่ยังไม่ทราบชัด
4.ต่อมแพนครีส สร้างฮอร์โมนชื่ออินซูลิน มีหน้าที่คุมน้ำตาลในเลือด
5.ต่อมแอดรีนาล สร้างฮอร์โมนชื่อแอดรีนาลิน เมื่อโกรธหรือตกใจฮอร์โมนนี้หลั่งออกมามากกว่าปกติ
6.ต่อมไทรอยด์ ฮอร์โมนของต่อมนี้มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการทั้งร่างกายและจิตใจ ถ้าผลิตน้อยไป ร่างกายจะมีพลังงานน้อย จิตใจเสื่อม เติบโตช้า ถ้ามีมากไป เด็กจะมีน้ำหนักลดน้อยลงกว่าธรรมดา กินจุ ร่างกายมีความว่องไวมากกกว่าปกติ ถ้าต่อมนี้มีความบกพร่องครวได้รับการช่วยเหลือแก้ไขตั้งวัยเด็ก อาจช่วยให้ต่อมนี้ทำงานปกติได้ง่ายกว่าแก้ไขเมื่อโต
7.ต่อมพาราไทรอยด์ มีสี่ต่อมเล็กๆอยู่สองข้างต่อมไทรอยด์ข้างละสองต่อม ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างธาตุปูนซึ่งจำเป็นสำหรับกระดูก ฟัน และเลือด ความเป็นคนตกใจง่าย ตื่นเต้นง่าย อยู่ใต้อิทธิพลของต่อมนี้
8.ต่อมเพศ ต่อมเพศแท้ๆ มีลักษณะเป็นต่อมที่มีท่อ แต่ไม่ได้ใช้ท่อในการส่งฮอร์โมนกลับใช้ในการส่งไข่หรือสเปิร์ม ต่อมเพศของหญิงคือรังไข่ ทำหน้าที่สร้างและปล่อยไข่รวมทั้งผลิตฮอร์โมนเพศหญิงหลายชนิดต่อมเพศชายคืออัณฑะ ทำหน้าที่สร้าง testosterone
พัฒนาการทางอารมณ์
ลักษณะอารมณ์
ความเปลี่ยนแปลงและความเจริญเติบโตทางร่างกายทั้งภายในและภายนอกกระทบกระเทือนแบบแผนอารมณ์ของเด็กวัยแรกรุ่นและวัยร่น เด็กมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย สับสน อ่อนไหว มีความเข้มของอารมณ์สูง ไม่มั่นคง ระดับความเข้มของอารมณ์แต่ละอย่างๆ นั้นขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพดั้งเดิมของเด็ก ขึ้นอยู่กับตัวเร้าที่ทำให้เด็กเกิดอารมณ์ เด็กแต่ละคนเริ่มแสดงกระสวนบุคลิกอารมณ์ประจำตัวออกมาให้ผู้อื่นทราบได้อย่างเด่นชัดแล้วในขณะนี้ เช่น อารมณ์ร้อย อารมณ์ขี้วิตกกังวล อารมณ์อ่อนไหวง่าย เจ้าอารมณ์ ขี้อิจฉา ฯลฯ มีความรู้สึกเด่นในแง่อะไร ฝ่ายตัวเด็กก็สามารถรู้และรับทราบได้และจะยิ่งทวีขึ้นในระยะปลายวัยรุ่น ผู้รู้บางท่านเรียกลักษณะอารมณ์ของเด็กวัยรุ่นว่า เป็นแบบพายุบุแคม อารมณ์ที่เกิดกับเด็กวัยรุ่นมีทุกประเภท อาทิ รัก ชอบ โกรธ เกลียด อิจฉา ริษยา โอ้อวด แข่งดี ถือดี เจ้าทิฐิ อ่อนไหว หลงใหล วุ่นวายใจ เห็นอกเห็นใจ สับสน หงุดหงิด ฯลฯ ไม่ว่าอารมณ์ประเภทใดมักรุนแรงอ่อนไหวง่าย เปลี่ยนแปลงง่าย ควบคุมอารมณ์ยังไม่สู่ดี ไม่ค่อยเข้าระดับพอดีบางครั้งพลุ่งพล่าน บางครั้งเก็บกด บางครั้งมั่นใจสูง บางคราวไม่แน่ใจ บางคราวเห็นแก่ตัว เพราะลักษณะอารมณืของเด็กวัยรุ่นเป็นเช่นนี้ บุคคลต่างวัยจึงต้องใช้ความอดทนมากเพื่อจะเข้าใจและสร้างสัมพันธ์กับพวกเขา



สาเหตุของการสับสนทางอารมณ์
1.เป็นช่วงเปลี่ยนวัย เป็นระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต เป็นระยะที่เด็กทำบทบาทอย่างผู้ใหญ่ ในด้านความประพฤติ ความปรารถนาในชีวิต ความรับผิดชอบ นิสัยใจคอ แต่เนื่องจากเป็นระยะแรกเริ่มจึงมีความสับสนที่ลังเลใจ ไม่แน่ใจ ไม่ทราบว่าที่ถูกที่ควรนั้นควรจะเป็นเช่นไร
2. ร่างกายเติบโตเป็นชายหนุ่มหญิงสาวเต็มที่ ต้องวางตัวในสังคมกับเพื่อนร่วมวัย เพื่อนต่างเพศ และเพื่อนต่างวัยในแนวใหม่ การวางตัวอย่างถูกต้องนั้นกระทำไม่ได้ง่าย ๆ ต้องอาศัยเวลาบ้าง ในระยะที่ปรับตัวไม่ได้เด็กจึงมีความรู้สึกสับสนในใจเมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น
3. เด็กจะต้องเลือกอาชีพเพื่อเตรียมตัวสำหรับประกอบอาชีพต่อไปในระยะวันผู้ใหญ่ การเลือกอาชีพเป็นเรื่องที่สำคัญต่อชีวิตจิตใจ อารมณ์ ความต้องการของเด็ก และบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งที่บ้าน โงเรียน และกลุ่มเพื่อน ความสับสนใจเกิดง่ายเพราะเด็กอยู่ภายใต้ความบีบบังคับ ข้อจำกัดของระบบการศึกษา สติปัญญา ฐานะเศรษฐกิจของครอบครัว ความนิยมของท้องถิ่น โรงเรียน และสังคมส่วนรวม และยังไม่ทราบแน่ในความถนัด ความสนใจ ความต้องการ และบุคลิกภาพของตัวเอง
4. สภาพปัจจุบันของสังคมเป็นสาเหตุใหญ่ซึ่งพอแยกข้อย่อยได้ว่า
(1) สังคมเปลี่ยนแปลงง่ายและรวดเร็ว เด็กปรับตัวตามไม่ทันเพราะยังมีความชัดเจนในโลกและชีวิตไม่เพียงพอ
(2) สภาพเศรษฐกิจสังคมในปัจจุบันทำให้เด็กต้องใช้เวลาฝึกฝนอาชีพนานขึ้น ไม่มีโอกาสเป็นผู้ใหญ่และประกอบกิจกรรมของชีวิตอย่างผู้ใหญ่สมใจปรารถนา ต้องเก็บความรู้สึกเช่นนี้ไว้ การเก็บกดหนักหน่วงขึ้นเมื่อผู้สูงวัยเหมาเอาว่าหนุ่มสาววัยรุ่นที่กำลังศึกษาอยู่ไม่ว่าระดับใดก็ตามยังอยู่ในฐานะเหมือนเด็ก
(3) วัยรุ่นสมัยปัจจุบันจำนวนไม่น้อยต้องออกจากความคุ้มครองของพ่อแม่ ต้องช่วยตัวเองเร็วขึ้น บางคนอาจยังไม่พร้อมสำหรับการออกจากความคุ้มครองของพ่อแม่ จึงตกไปเป็นเหยื่อของผู้หวังเอาประโยชน์จากเด็กโดยปราศจากความหวังดี
นักมานุษยวิทยาผู้มีชื่อเสียงคือ มากาเร็ต มี้ด ได้ทำการศึกษาเด็กวัยรุ่นในสังคมง่าย ๆ ตามภูเขาและเกาะ แล้วนำมาเปรียบเทียบกับสภาพสังคมเศรษฐกิจซับซ้อนในเมืองใหญ่ พบว่าเด็กวัยรุ่นง่าย ๆ ประสบปัญหาน้อยกว่า ยุ่งยากและสับสนในน้อยกว่า (Fuhmann 1990)
อย่างไรก็ตาม การศึกษาเรื่องวัยรุ่นในสมัยปัจจุบันนี้ได้พบข้อเท็จจริงว่า ตามที่เชื่อว่าเด็กวัยรุ่นจะมีลักษณะอารมณ์รวม ๆ คือ แปรปรวนและสับสนใจน้อยกว่า (storm and stress)นั้น ไม่เป็นความจริงเสมอไป เพราะเด็กวัยรุ่นบางกลุ่มไม่ต้องผ่านภาวะวิกฤตทางอารมณ์เช่นนี้เลย เนื่องจากวัยรุ่นที่มีผู้ปกครองให้กำลังใจและเข้าใจ หรือวัยรุ่นที่ได้เรียนรู้พัฒนาการวัยรุ่น จึงได้เรียนรู้จักตนเองตามวัย รู้จักปรับตัว ยอมรับจุดด้อยดีของตน และดำเนินชีวิตตรงตามธรรมชาติประจำวัย (Fuhmann 1990)
พัฒนาการทางสังคม
พัฒนาการทางสังคมในวัยรุ่นเป็นหัวข้อใหญ่หัวข้อหนึ่ง เพราะพัฒนาการด้านนี้ในระยะนี้มีมุมมองอันหลายหลากและมีความแหลมคม จึงจะได้บรรยายถึงแง่มุมต่าง ๆ ตามสมควร

สังคมกลุ่มเพื่อนร่วมวัย
เด็กให้ความสำคัญกับเพื่อนร่วมวัยมากกว่าในระยะวัยเด็กตอนกลาง เด็กจับกลุ่มกันได้นานแน่นแฟ้น และผูกพันกับเพื่อนในกลุ่มมากขึ้น กลุ่มของเด็กไม่มีเฉพาะเพื่อนเพศเดียวกันเท่านั้น แต่มีเพื่อนต่างเพศเข้ามาสมทบด้วย เด็กที่สามารถเข้ากลุ่มได้และมีกลุ่มในระยะวัยเด็กตอนกลาง จะเข้ากับกลุ่มและมีชีวิตทางสังคมที่สนุกสนานได้ดีกว่าเด็กที่ไม่มีพัฒนาการดังกล่าวในช่วงวัยที่ผ่านมา เด็กเริ่มลดความเอาใจใส่กับบุคคลต่างวัยไม่ว่าเป็นผู้ใหญ่หรือเด็กกว่า ระยะนี้จึงเริ่มต้นชีวิตกลุ่มที่แท้จริง(gang age) การเปลี่ยนแปลงทางกายอย่างรวดเร็วและมากมายเป็นแรงกระตุ้นให้เด็กรวมกลุ่ม เพราะสามารถร่วมสุขทุกข์แก้ไขและเข้าใจปัญหาของกันและกันดีกว่าคนต่างวัยซึ่งมีความคับอกคับใจต่างกัน กลุ่มยังสนองความต้องการทางด้านสังคมต่างๆ ซึ่งเด็กต้องการมากในระยะนี้ เช่น การเป็นบุคลสำคัญ การต่อต้านผู้มีอำนาจ การหนีสภาพน่าเบื่อของบ้าน ฯลฯ เมื่อเด็กรวมกลุ่มเด็กจะสร้างกฎระเบียบ ภาษา ประเพณีประจำกลุ่ม เพื่อใช้เฉพาะสมาชิกของกลุ่มเท่านั้น และสมาชิกทุกคนจำต้องประพฤติปฏิบัติตาม มิฉะนั้นแล้วอาจหมกสภาพการเป็นสมาชิก และต้องหากลุ่มใหม่ต่อไปอีก
การรวมกลุ่มของเด็กเป็นไปโยตามธรรมชาติ เด็กเลือกเป็นสมาชิกของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยไม่มีใครตั้งกฎเกณฑ์ไว้ให้ต้องทำ เช่น เป็นกลุ่มที่เข้าได้กับแนวนิยม แบบบุคลิกภาพ ฐานะทางเศรษฐกิจสังคมของครอบครัวของตน ทั้งความสนใจ ค่านิยม สติปัญญา ความมุ่งหวังในชีวิต และอื่นๆ บุคคลต่างวัยมีอิทธิพลในการเลือกกลุ่มและจับกลุ่มของเด็กไม่สู้มากนัก จึงกล่าวได้ว่ากลุ่มมีความสำคัญต่อชีวิตจิตใจและอนาคตของเด็กอย่างมากที่สุด ครอบครัวเริ่มมีอิทธิพลน้อยลง ฉะนั้นลักษณะชั่วดีของกลุ่มจึงเป็นเครื่องชี้ชะตาชีวิตของเด็กวัยรุ่นและระยะผู้ใหญ่ ประดุจเดียวกับครอบครัวมีความสำคัญต่อการสร้างฐานของชีวิตบุคคลในระยะวัยทารกและวัยเด็กตอนต้น

อิทธิพลของกลุ่มเพื่อนจากการรายงายวิจัย
Fuhrmann (1990) ได้ศึกษารายงานการวิจัยเกี่ยวกับอิทธิพลของกลุ่มเพื่อนที่มรต่อวัยรุ่น ซึ่งนำมาเสนออย่างเก็บใจความดังนี้
อิทธิพลของกลุ่มเพื่อนมีมากกว่าอิทธิพลของครอบครัว เด็กวัยรุ่นเลือกที่จะเข้าหากลุ่มเพื่อนมากกว่าพ่อแม่ มีการศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่าเพื่อนสนิทของคนเรามักจะเป็นช่วงวัยรุ่น
ลักษณะของเด็กวัยรุ่นมักจะชอบทำตามกลุ่มเพื่อน “ใครๆ ก็ทำกันทั้งนั้น” มักจะเป็นคำอ้างของเด็กวันรุ่น วัยรุ่นต้องการการยอมรับ ความคาดหวังจากพวกกลุ่มเพื่อนร่วมวัยเป็นสิ่งที่พวกเค้ายึดมั่นเด็กวัยรุ่นมักทำอะไรๆตามกลุ่มเพื่อน แม้ตนเองจะรู้ว่าไม่ดี เช่น สูบบุหรี่ (Hamburg 1986)
ช่วงวัยรุ่นตอนต้น เด็กวัยรุ่นทั้งหญิงและชาย จะให้คำจำกัดความของกลุ่มเพื่อนว่าเป็นคนที่จะ “ทำ” อะไรๆร่วมกันได้ ความสัมพันธ์จะอยู่ในรูปของการทำกิจกรรมร่วมกัน พวกเขาต้องการพวกที่เข้ากันได้ ทำอะไรๆ ร่วมกันได้ มีงานวิจัย (clark 1985) ที่ชี้ให้เห็นว่า เด็กวันรุ่นชายจะให้คำจำกัดความของเพื่อนเป็นกลุ่มเพื่อนร่วมวัย แต่เด็กผู้หญิงวัยรุ่มจะอ้างถึงคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ
ช่วงวัยรุ่นตอนกลาง สัมพันธภาพของเพื่ออนจะเป็นเชิงการมีความสัมพันธ์มากกว่าการกระทำกิจกรรมร่วมกัน โยเฉพาะในกลุ่มเด็กหญิง ความสัมพันธ์แนบแน่นทางจิตวิทยาจะเกิดในกลุ่มเพื่อนมากกว่าในครอบครัว ความสัมพันธ์ของเพื่อนจะต่างกันระหว่างชายกับหญิง วัยรุ่นชายยังมีแนวโน้มที่จะทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน ในขณะที่เด็กหญิงจะเริ่มมีความเข้มทางความสัมพันธ์ในด้านการไว้เนื้อเชื่อใจ และความแนบแน่นทางอารมณ์ นั่นคือ เด็กวัยรุ่นหญิงจะมีความรู้สึกร่วมกันมากกว่า
ช่วงวัยรุ่นตอนปลาย สัมพันธภาพเริ่มจะมั่นคงและราบเรียบขึ้น เพราะเด็กวัยรุ่นจะมีวุฒิภาวะมากขึ้น เด็กวันรุ่นจะเรียนรู้ที่จะเข่าใจความแตกต่างระหว่างบุคคลและลักษณะบุคลิกภาพเฉพาะของแต่ละคน
การจัดกิจกรรมหรือชมรมต่างๆ เป็นสิ่งที่ควรส่งเสริมเพื่อสนองความต้องการของเด็กในด้านการเข้ากลุ่มและเรียนรู้พฤติกรรมสังคม เด็กที่มีเข้ากลุ่มย่อยเสียโอกาสการเรียนรู้พฤติกรรมสังคมหลายอย่าง จะมีพัฒนาการไม่สมตามวัย และถ้าบกพร่องข้อนี้รุนแรงมากๆ อาจแสดงผลออกมาในรูปแบบการประชดประชันชีวิตและสังคม หรือแสดงออกในรูปช่างคิดฝัน ไม่กล้าเผชิญความเป็นจริงของสังคมและชีวิตได้
เมื่ออพิจารณาจำนวนกลุ่มเพื่อนของเด็ก พบว่าบางคนอาจมีกลุ่มเพื่อนสนิทเพียงกลุ่มเดียว เด็กบางคนอาจมีกลุ่มเพื่อนมากกว่าหนึ่งกลุ่ม ขึ้นอยู่กับลักษณะกิจกรรมของเขา เช่น กลุ่มเพื่อนเรียนกลุ่มเพื่อนงานสังคม กลุ่มเพื่อนงานอดิเรก กลุ่มของเด็กยั่งยืนกว่าในวัยที่ผ่านมา เปลี่ยนกลุ่มไม่บ่อยมากเหมือนวัยเด็กเพราะเด็กวัยรุ่มใช้เหตุผลและความคิดนึกในการเข้ากลุ่มมากกว่า ความสัมพันธ์ในกลุ่มค่อนข้างยั่งยืน และในบางชนิดของสัมพันธภาพอาจยั่งยืนไปจนเป็นผู้ใหญ่ การรวมกลุ่มทำให้เด็กวันรุ่นมีความผูกพันกับบุคคลต่างวัยทั้งเด็กเล็กและผู้ใหญ่น้อยลง

2. พัฒนาการทางสังคมระหว่างเพศและการเรียนบทบาททางเพศ
สัมพันธภาพระหว่างเด็กหญิงและเด็กชายแปลกไปจากเด็กวัยเด็กตอนปลาย ความเจริญเติบโตของลักษณะทุติยภูมิทางเพศเป็นแรงกระตุ้นให้เด็กชายและเด็กหญิงเริ่มสนใจซึ้งกันและกัน และมีความพอใจพบปะสังสรรค์ ร่วมเล่น เรียน ทำงาน พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ้งกันและกัน เมื่อเด็กชายและเด็กหญิงเริ่มสนใจกันและกันแล้ว ทั้งสองฝ่ายให้ความสำคัญต่อการประพฤติปฏิบัติตามบทบาททางเพศของตน การกระทำเช่นนี้ไม่เป็นการลำบากมากนักสำหรับเด็กหญิงและเด็กชายที่พัฒนาการด้านนี้อย่างปกติในวัยที่ผ่านมา คือมีบุคคลให้เด็กได้เรียนแบบบทบาททางเพศ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับเด็ก ทั้งหญิงและชายจะรู้สึกอ่อนไหว และชิงชังคำประณาม เป็นกระเทย ไม่เป็นลูกผู้ชายไม่เป็นกุลสตรี เด็กที่ถูกประณามเช่นนี้จากบุคคลต่างวัยก็ดี จากเพื่อนร่วมวัยก็ดี จะหาทางและวิธีประพฤติให้สมตามเพศหญิงหรือเพศชายของตน การเรียนแบบบทบาททางเพศของเด็กในระยะนี้ไม่จำกัดเฉพาะบุคคลที่เด็กรักและพบเห็นในบ้านที่เพศเดียวกับตน แต่ขยายวงมาเรียนแบบเพื่อนร่วมวัย บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ ในวงการบันเทิงธุรกิจ ในหนังสืออ่านเล่น และบุคคลอื่นที่เด็กได้รู้จักและพบเห็น เด็กเลือกใครมาเป็นแบบนั้นขึ้นอยู่กับรากฐานบุคลิกภาพดั้งเดิมของเด็ก และเป็นเช่นนี้ไปจนสิ้นสุดวัยรุ่นโดยละทิ้งการเรียนบทบาททางเพศจากบิดามารดาหรือบุคคลในครอบครัว
เพศศึกษา : เรื่องโต้แย้งที่หาบทสรุปไม่ได้
ปัญหาเพศศึกษาเป็นเรื่องที่ขัดแย้งมามากกว่า 100 ปีแล้ว พ่อแม่ นักการศาสนา นักการเมือง นักศึกษา โต้แย้งกันมานานว่าควรจะบรรลุเรื่องเพศศึกษาเข้าไปในหลักสูตรมัธยมจนถึงมหาวิทยาลัยหรือไม่ เพศศึกษาควรเป็นเรื่องที่สอนกันในบ้าน หรือในโรงเรียน หรือในมหาวิทยาลัย
เพศศึกษาได้รับความสนใจมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับค่านิยมของแต่ละสังคม พ่อแม่บางคนเห็นว่าเป็นเรื่องสกปรก เลวร้าย และไม่เคยพูดในเรื่องนี้กับลูกของตน ซึ้งจะทำให้เด็กเกิดความสับสนเกิดความรู้สึกผิด หรือขาดความรู้หรือความเข้าใจที่แท้จริง การสอนเรื่องเพศศึกษาควรมีทั้งในโรงเรียน และที่บ้านเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง
ข้อเสนอแนะสำหรับการสอนเพศศึกษา
สำหรับเด็กอายุ 7-12 ปี การสอนเพศศึกษาควรมีเนื้อหาเกี่ยวกับ
-พัฒนาการส่วนบุคคล การเปลี่ยนแปลงของร่างการ และอารมณ์ใหม่ๆที่เกิดขึ้น
-ข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการของต่างเพศ
-ช่วงระยะเวลาที่จัดสอน ควรให้เหมาะสมกับวัยที่แปรเปลี่ยนไป เมื่อเด็กหญิงเริ่มตั้งเต้านมหรือแม้แต่เด็กอายุ 7-8 ปีก็อาจพูดเรื่องการมีระดูได้แล้ว

สำหรับเด็กวัย 12 ปีขึ้นไปควรสอนเกี่ยวกับ
-การเกิดแรงกระตุ้นทางเพศ
-การมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน
-การใช้ยาคุมกำเนิด
-โรคที่ติดต่อทางเพศ
-เพศและความสัมพันธ์ทางเพศ
-รักร่วมเพศ
การตั้งท้องในวัยรุ่น
การศึกษาต่างประเทศเกี่ยวกับการที่เด็กวัยรุ่นตั้งท้อง พบว่ามีจำนวนสูงเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพะสังคมอุตสาหกรรมได้กล่าวว่าอัตราที่เพิ่มมากขึ้นนี้ปรากฏในสังคมอื่นๆทั่วโลก ทั้งยังปรากฏว่า เด็กสาวๆ ที่ตั้งท้องนี้ส่วนหนึ่งทำแท้ง อีกส่วนหนึ่งก็ปล่อยให้เด็กเกิด และยังได้รายงานความแปลกอีกว่า เด็กวัยรุนที่ตั้งท้องครั้งแรกและมักจะท้องอีกในอีก 3 ปีให้หลัง
โสเภณีเด็กวัยรุ่น
ปัญหาโสเภณีเด็กวัยรุ่นในอเมริกามักจะเกิดขึ้นกับเด็กที่หนีออกจากบ้าน หรือถูกพ่อแม่ทิ้งเด็กอายุ 12-14 ที่มีปัญหาทางบ้านออกมาอยู่ตามถนน ต้องหาทางรอดโดยการขายตัวทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย
ในประเทศไทยนอกจากจะเกิดจากที่เด็กมีปัญหาทางบ้านแล้ว ยังมีปัญหาเรื่องการขายลุกสาวเพื่อพยุงฐานะของตนเอง ทำให้เกิดคำถามในเรื่องจริยธรรมและค่านิยมที่แท้จริงในเรื่องสังคมไทย
ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับผู้ปกครอง : ความขัดแย้ง
1.ความขัดแย้งจาก “เด็กวัยรุ่นมีความต้องการชื่นชอบตัวเองอย่างเช่นผู้ใหญ่” เนื่องจากเป็นวัยเติบโตอย่างรวดเร็วและแปลกเปลี่ยนจากวัยก่อนๆ อย่างมาก
2.ความขัดแย้งจาก “เด็กวัยรุ่นต้องการให้คนอื่นชอบตัวเขา” ข้อนี้เนื่องจากพัฒนาการทางสังคมของวัยรุ่นทำให้เขาต้องการความโดดเด่นในหมู่เพื่อน ทำให้เด็กวัยรุ่นมีพฤติกรรมแสดงลักษณะต่างๆ
3.ความขัดแย้งจาก “เด็กวัยรุ่นต้องการชอบบุคคลอื่น” พัฒนาการทางสังคมประเภท “การนับถือวีรบุรุษ” ทำให้เด็กวัยรุ่นมีมีพฤติกรรมแสดงออกในทางสนิทสนมกับเพื่อนอย่างแน่นแฟ้น ชอบไปไหนมาไหนด้วยกัน ชอบไปนอนค้างบ้านเพื่อน ฯลฯ
4.ความขัดแย้งจาก “เด็กวัยรุ่นต้องการเลียนแบบบุคคลอื่น” เป็นพฤติกรรมต่อเนื่องจากเหตุที่กล่าวใน 3 ข้อข้างต้น เด็กวัยรุ่นเห็นเป็นความจำเป็นจะต้องกระทำการต่างๆ ให้เหมือนเพื่อน เช่น แต่งกาย ไว้ผม มีของเล่นของใช้ ฯลฯ
5.ความขัดแย้งจาก “เด็กวัยรุ่นต้องการคบเพื่อนต่างเพศ” เมื่อวัยรุ่นเจริญวัยถึงขั้นที่เกิดความต้องการคบเพื่อนต่างเพศ
6.ความขัดแย้งจาก “เด็กวัยรุ่นต้องการความอิสระ” ทำให้เด็กวัยรุ่นแสดงพฤติกรรมในรูปแบบต่างๆ มากมาย เช่น ต้องการออกความคิดเห็น
ฝ่ายผู้ปกครอง
1.เด็กวัยรุ่นกำลังต้องการความมั่นคง ความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจอย่างจริงจังและจริงใจมาก ผู้ปกครองต้องสามารถให้สิ่งเหล่านี้แก่เด็กวัยรุ่นได้
2.ผู้ปกครองต้องเข้าใจและยอมรับลักษณะพัฒนาการตามวัยของบุคคล เช่น ไม่เปรียบเทียบความด้อยความเด่นของเด็กของตนกับเด็กอื่นๆ
3.เปิดโอกาสให้เด็กวัยรุ่นได้ระบายความต้องการความรู้สึกนึกคิดอย่างเหมาะสม เพื่อไม่ให้เขามีความรู้สึกกดดันและเครงเครียดทางอารมณ์มากเกินไป
4.ให้เด็กวัยรุ่นตัดสินใจทำอะไรด้วยตัวเอง แก้ปัญหาด้วยตัวเองเป็นครั้งคราวเพื่อสนองความต้องการเป็นอิสรเสรีของเขา
5.ให้รู้จักจ่ายเงิน หรือถ้ามีโอกาสให้รู้จักหางานทำ เพื่อเห็นค่าของเวลาและเงิน
6.ควรให้เด็กวัยรุ่นได้รับทราบข้อเท็จจริงเรื่องเพศ เปิดโอกาสให้ได้มีสัมพันธภาพกับเพื่อนต่างเพศในขอบเขตที่เหมาะสม
ฝ่ายเด็กวัยรุ่น
เด็กวัยรุ่นต้องรับทราบ สนใจ และเข้าใจธรรมชาติ กระบวนพัฒนาการของตน เป็นคนคิดอย่างมีเหตุผลและรับฟังทัศนะผู้อื่น เตรียมตัวเผชิญความเปลี่ยนแปลง ความผันแปร แก้ปัญหาประจำวัย ถ้าสามารถทำได้เช่นนี้จะช่วยปรับตัวได้ดีแม้เมื่อย่างเข้าสู่วัยอื่นๆในอนาคต
ช่องว่างระหว่างวัย : วัยรุ่นกับผู้สูงวัยกว่า
ช่วงวัยรุ่นเป็นช่วงซึ่งเด็กมักมีความรู้สึกว่าเขามีโลกของตนเอง ซึ่งผู้ที่เป็นผู้ใหญ่กว่าเขาและผู้ที่เป็นเด็กกว่าเขาไม่เข้าใจ ดังนั้นวัยรุ่นจึงชอบรวมกลุ่มกับเพื่อนวัยเดียวกันและรักผูกพันกับเพื่อนร่วมวัยลึกซึ่งยิ่งกว่ามีความสัมพันธ์กับบุคคลวัยอื่นๆ ในขณะเดียวกันก็เหินห่างทางความคิดเห็นเจตคติ รสนิยม ค่านิยม และพฤติกรรมอื่นๆ ไกลออกไปจากบุคคลวัยอื่นๆ


การนับถือวีรบุรุษ
1.ความต้องการรู้จักตนเอง การมีบุคคลมาเป็นแบบให้นับถือและเลียนแบบช่วยลดความไม่รู้จักไม่เข้าใจตัวเอง 2.เป็นการแสวงหาแบบอย่างเพื่อดำเนินชีวิตอย่างผู้ใหญ่ ผู้ที่เด็กนับถือว่าเป็นวีรบุรุษ (heroes) หรือเป็นแบบ (models) นั้นมีได้มากกว่าหนึ่งคน ขึ้นอยู่กับความต้องการ บุคลิกภาพ ความใฝ่ฝัน สติปัญญา อิทธิพลของบ้าน ครอบครัว สถานภาพทางเศรษฐกิจสังคม อาจเป็นเพศเดียวกับเด็กหรือต่างเพศวัยเดียวกันหรือต่างวัย
พัฒนาการทางความคิด
ในระยะวัยรุ่นเด็กมีความเจริญเติบโตทางสมองถึงขีดเต็มที่ จึงสามารถคิดได้ในทุกๆ แบบและทุกๆ แบบของวิธีคิด หากเด็กได้รับการศึกษาอบรมตามขั้นตอนด้วยดี ระยะนี้เป็นระยะที่เด็กจะแสดงความปราดเปรื่องอย่างชัดเจน และเห็นความแตกต่างของเด็กวัยนี้กับวัยอื่นๆ ได้ชัด การเรียนรู้เรื่องยากๆ เรื่องที่เป็นนามธรรมซับซ้อน เด็กก็สามารถเข้าใจได้ อย่างไรก็ตาม พึงนึกเสมอว่าคุณภาพของความคิดของเด็กขึ้นกับคุณภาพของสมอง พันธุกรรม การเรียนรู้ในวัยที่พ่านมา และบทเรียนทางวิชาการต่างๆ ที่เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อพัฒนาการทางความคิดของเด็ก
พัฒนาการทางความคิดตามแนวของเพียเจท์ : ขั้น formal operation
เพียเจท์ได้สรุปผลการศึกษาเรื่องพัฒนาการทางความคิดว่า ในวัยรุ่นเด็กจะพัฒนาความคิดถึงระดับสูงสุดของขั้นตอนต่างๆ ของความคิด ขั้นตอนนี้เรียกว่าขั้น formal operation อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเด็กจะพัฒนาความคิดได้ถึงระดับนี้ แต่ก็ยังแตกต่างจากความคิดระดับ formal operation ของผู้สูงวัยกว่าในเชิงประสบการณ์ คุณภาพ และความชำนาญ ในช่วงวัยรุ่น เด็กจะเริ่มพัฒนาความคิดเป็นรูปแบบชัดเจน ซึ่งมีลักษณะเด่น 4ประการ คือ
1.การคิดแบบใช้ตรรกจากเงื่อนไขที่กำหนด (proportional logic)
2.การคิดแบบใช้ใช้เหตุผลเชิงสัดส่วน (proportional reasoning)
3.การคิดแบบแยกตัวแปรเพื่อสรุปผล (isolation of variables)
4.การคิดแบบใช้เหตุผลสรุปเป็นองค์รวม (combinational reasoning)

1.การคิดแบบการใช้ตรรกจากเงื่อนไข
การคิดแบบนี้เป็นลักษณะสรุปผลเชิงตรรกจากการพิจารณาเงื่อนไขต่างๆ ที่กำหนด ซึ่งอาจเป็นเงื่อนไขมิติเดียว (ได้แก่ ถ้า Pเป็นจริงแล้ว Q ก็เป็นจริงด้วย) หรือจากการใช้เงื่อนไขหลายมิติก็ได้ (เช่น “Q เห็นจริง P เท่านั้นที่เป็นจริง” “มี P หรือ Q อย่างเดียวเท่านั้นที่เป็นจริง แต่ทั้ง P และ Q จะไม่เป็นจริงพร้อมกัน” “มี P เป็นจริง หรือ Q เป็นจริง หรือทั้ง 2 เป็นจริงพร้อมกันก็ได้”)
2.การคิดแบบการใช้เหตุผลเชิงสัดส่วน
ลักษณะเช่นนี้เป็นการเปรียบเทียบเชิงสัดส่วน ถึงแม้ว่าเด็กจะพัฒนาความคิดเรื่องการทรงสภาพเดิม (conservation) มาแล้วในช่วงวัยเด็กตอนปลาย แต่การคิดในเรื่องการใช้เหตุผลเชิงสัดส่วนเป็นการคิดที่พัฒนาขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง


3.การคิดแบบการแยกตัวแปรเพื่อสรุปผล
เด็กเล็กจะมีระบบความคิดที่ไม่เป็นระบบ ไม่รู้จักแยกศึกษาตัวแปรที่ละตัวอย่างชัดเจน แต่เด็กวัยรุ่นจะสามารถจำแนกว่าตัวแปรใดมีผลอย่างไร เด็กจะสามารถบอกได้ว่าจะเอาตัวแปรใดใส่เข้ามาเพื่อทดลองสรุปผล หรือจะดึงเอาตัวแปรใดออกไปก่อน เพื่อจะหาเหตุผลอื่นๆ
4.การคิดแบบการใช้เหตุผลสรุปในเชิงองค์รวม
การคิดแบบนี้เป็นการคิดอย่างใช่เหตุผลหาข้อสรุปในเชิงองค์รวมของสิ่งที่ปรากฏ เช่น เมื่อกำหนดให้มีค่าของ A, B, C หรือเชิงคู่คือ AB, AC, BC หรือในเชิงรวมทั้งหมด (ABC) ก็ได้
เพียเจท์และอินเฮลเตอร์ (Piaget & Inhelder 1955, 1958 อ้างจาก McGraw 1987: 443-444) สรุปว่า ช่วงวัยรุ่นเด็กจะสามารถมองเห็นความสัมพันธ์ในเชิงการหาองค์ประกอบรวมของตัวแปรต่างๆได้ แต่เด็กในช่วงก่อนวัยรุ่นมักจะมองไม่เห็นองค์ประกอบต่างๆ ได้ครบถ้วนทั้งหมด

3.ตัวอย่างกระบวนคามคิดแบบต่างๆในช่วงวัยรุ่น

.สมรรถภาพในการคิดเห็นเป็นเหตุผลของเด็กที่เพิ่มพูนขึ้น จะทำให้เขาลดความอ่อนไหวง่ายหรือและความรู้สึกแยแสต่อคำตำหนิติชมของผู้อื่นที่มีต่อตัวเขา เขาจะเริ่มเข้าใจตัวเองอย่างมีเหตุผลยอมรับโลกแห่งความเป็นจริงอย่างตรงไปตรงมายิ่งขึ้น (ประมาณ 17-18ปี) แต่ก็เป็นกระบวนการที่ค่อยเป็นค่อยไป และอาจหายไปมมากบ้างน้อยบ้าง ตามคุณภาพของการพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กผู้นั้น อย่างไรก็ตาม ลักษณะอย่างนี้ของเด็กบางคนจะติดยาวไปจนถึงเมื่อผู้นั้นเข้าวัยผู้ใหญ่ ส่วน “personal fable” จะลดความเข้มลงเมื่อวัยรุ่นผู้นั้นมีเพื่อนสนิท (Gormly & Brodzinsky 1989:311-312) (ดูคำอธิบายเรื่อง personal fable ในหัวข้อความคิดเกี่ยวกับตนของวัยรุ่น)
ตัวอย่างกระบวนคามคิดแบบต่างๆในช่วงวัยรุ่น
เด็กวันรุ่นมีกระบวนการความคิดแบบต่างๆมากมาย ดังตัวอย่างที่ยกมาต่อไปนี้
1. รู้จักคิดเป็นเหตุเป็นผล ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ
2. รู้จักคิดแบบวิทยาศาสตร์ (scientific thingking) ซึ่งรวมถึงลักษณะคิดวิเคราะห์(analyzation) วิพากษ์วิจารณ์(criticism) คิดอย่างมีระเบียบแบบแผน (systematic thingking) ต้องการคิดนึกด้วยตัวเองระยะนี้เด็กจึงรู้สึกชิงชังคำสั่งบังคับ คำสั่งให้เชื่อและต้องคล้อยตาม
3. รู้จักตัดสินใจในเรื่องยากๆ รวมทั้งการค้นหาข้อมูลมาใช้ประกอบการตัดสินใจ
4. มีความคิดรวบยอดเรื่องราวต่างๆลึกซึ้งขึ้น ฉะนั้นจึงเชื่อมโยงประสบการณ์ในอดีตเข้ากับปัจจุบัน และคาดหรือวางแผนการสำหรับอนาคต
5. เข้าใจและมีความคิดรวบยอดเรื่อง ทฤษฏี กฎ ระเบียบ วินัย ฉะนั้นจึงสามารถเรียนเข้าใจเรื่องเหล่านี้และสามารถนำไปใช้ได้ ชอบเล่นวิธีเล่นที่มีกฎเกณฑ์ซับซ้อน
6. รู้คิดด้วยภาษาจากความคิดภายในมากขึ้น คือคิดโดยไม่ต้องเห็นของจริง เพราะความคิดเชิงนามธรรมพัฒนามาก สามารถสร้างภาพความคิดในใจได้มากและซับซ้อน
7. รู้คิดด้วยภาพความคิดในใจ ทำให้สามารถคิดเรื่องนามธรรมที่ยากๆได้ ครั้น ผสมผสานกับความสามารถคิดเชิงวิทยาศาสตร์ ทำให้เกิดความรู้สึกเชิงตรรกศาสตร์
เด็กวัยรุ่นชอบวิพากษ์วิจารณ์ ชอบทายปัญหา เด็กที่มีสมองดีชอบมีสมาธิในการทำงานมากขึ้นและนานขึ้นกว่าเดิม เด็กสมองไม่ค่อยดีช่วงความสนใจเฉพาะหน้ามักสั้น และทำงานยากๆไม่ค่อยได้ เด็กที่มีสติปัญญาสูง มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักคิดแผนการอนาคต มีอารมณ์มั่นคง กล้าสู้ปัญหา แก้ไขปัญหาชีวิต และเหตุการณ์ประจำวันได้
ความคิดแบบ Egocentric ในวัยรุ่น
ในวัยทารกเด็กไม่สามารถแยกแยะความจริงเฉพาะตนว่าแตกต่างกับความจริงจากข้อคิดเห็นของผู้อื่น และข้อเท็จของโลกหรือชิตอย่างไร ต่อมาจะค่อยๆลด “egocentric”ในแง่มุมต่างๆลงตามความเจริญเติบโตของสติปัญญา และการเพิ่มปฏิสัมพันธ์ กับผู้คนและสิ่งแวดล้อม แต่ก็จะปรากฏลักษณะ egocentric อย่างใหม่ขึ้นกับวัยรุ่น นั้นคือ เด็กจะหมกมุ่นคำนึงว่าตัวเองคือใคร รู้สึกหวั่นไหวและให้ความสำคัญกับคำวิพากษ์วิจารณ์ของผู้อื่นเกี่ยวกับตนเองมกกว่าวัยอื่นๆและวุ่นวายเกี่ยวกับรูปร่างของตนเองเป็นอย่างมาก (Gormly & Brodzinsky 1989:310-312)

ความคิดเกี่ยวกับ“ตน’’ของเด็กวัยรุ่น
1. แนวคิดในการประเมินตน
การประเมินตนเองของวัยรุ่น หรือความคิดเกี่ยวกับตนเอง (self concept)มักมาจากความคิดเห็นหรือความรู้สึกที่คนอื่นมีต่อตน มากกว่าที่เขาจะประเมินหรือคดเห็นด้วยตนเองมากกว่าที่เขาจะประเมินหรือคิดเห็นด้วยตนเอง เขามักคาดหวัง ว่าสิ่งที่เขาสนุก ตื้นเต้น สนใจชอบ คนอื่นๆจะต้องรู้สึกสำนึกเช่นนั้นด้วย ดังนั้นหากพ่อแม่แสดงความไม่เห็นด้วยต่อคนตรีที่เขาชอบ ต่อเสื้อผ้าที่เขาสวมใส่ ต่อทรงผมที่เขาเลือกไว้ เขาจึงรู้สึกสับสนระคนแปลกใจเมื่อวัยรุ่นพบปะกันจึงมักจะวิพากษ์วิจารณ์ซึ่งกันและกันเกี่ยวกับทรงผม แบบเสื้อ รองเท้า คู่รัก ความสนใจรสนิยมต่างๆ ทั้งนี้เพื่อทดสอบว่าคนอื่นคิดเห็นต่อสิ่งนั้นอย่างไร คนอื่นรู้สึกกับตนอย่างไร แตกต่างจากความคิดและทัศนคติของตนเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ อย่างไร เพียงใด
2. ตน 3 ลักษณะ
ตน หรือ Self ของวัยรุ่นแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะคือ“abiding self” “transient self” “personal fable”
“Abiding self” คือลักษณะบุคลิกภาพภายนอกของวัยรุ่นที่เห็นง่าย เปลี่ยนแปลงง่าย เช่น รสนิยมในการแต่งตัว ทรงผม รองเท้า อาหาร เพื่อนที่ชอบ เพลง อื่นๆ ส่วนนี้เป็นส่วนที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย เป็นส่วนที่เด็กวัยรุ่นเปิดเผยให้ผู้อื่นได้รู้โดยเฉพาะเพื่อน
“Transient self” คือบุคลิกลักษณะในด้านสติปัญญา ความสามารถ ส่วนนี้เป็นส่วนที่ค่อนข้าง เป็นโลกส่วนตัวของวัยรุ่น ซึ่งเขาไม่อยากเปิดเผยให้ผู้อื่นรู้ โดยเฉพาะผู้ที่สูงวัยกว่า หรือผู้ที่เด็กกว่าตน
“Personal fable”เป็นส่วนของความคิดฝัน เป็นโลกส่วนตัว เป็นจินตนาการกินคามเป็นจริงเขามักเป็นตัวเอกของเรื่องที่เขาคิดฝันขึ้น คนอื่นๆ อาจจะมองไม่เห็นไม่เข้าใจโลกส่วนตัวแบบนี้ของเขาเขาอาจเล่าหรือเปิดเผยโลกส่วนตัวด้านนี้ของเขาโดยการเขียนบันทึก (diary) หรืออกเล่าแกเพื่อนที่เขาสนิทหรือไว้วางใจจริงๆ การที่เด็กวัยรุ่นชอบอ่านนวนิยายเพ้อฝันหรือการ์ตูนต่างๆนั้นเป็นการสนองตอบแนวคิดด้านนี้ของเขา ซึ่งลักษณะนี้อาจติดตัวไปจนถึงผู้ใหญ่

พัฒนาการด้านเหตุผลเรื่องความดี-ชั่ว หรือศีลธรรมจรรยา
ความเข้าใจและการปฏิบัติในเรื่องความดี-ชั่ว เป็นเครื่องหมายหนึ่งที่ชี้ความเป็นมนุษย์ที่แตกต่างจากสัตว์โลกชนิดอื่นๆ นอกจกนั้นในระยะวัยรุ่นยังเป็นระยะที่เด็กกำลังสร้างรูปแบบของค่านิยมเรื่องศีลธรรมจรรยาเฉพาะตนและของสังคม จึงจะกล่าวถึงเรืองพัฒนาการด้านเหตุผลเรื่องดี-ชั่ว หรือศีลธรรมจรรยา (moral reasoning) นี้โดยนำทฤษฏีพัฒนากาทางศีลธรรมจรรยาของ Kohlberg มาอภิปรายตามสมควร (ดังตางที่ 7.1)

ตารางที่ 7.1 ขั้นตอนพัฒนาการด้านศีลธรรมจรรยาของ Kohlberg (จาก Gormly & Brodzinsky 1989:243)


ขั้นตอนพัฒนาการด้านศีลธรรมจรรยาของ Kohlberg

ขั้นตอนที่ 1 ก่อนการมีศีลธรรมจรรยาตามขนบธรรมเนียมประเพณีนิยม
(อายุประมาณ 4-10 ปี) (preconventional morality)
ขั้นที่1 - เชื่อฟังทำตามกฎเกณฑ์เพราะกลัวถูกทำโทษ
ขั้นที่ 2 - ทำตามกฎเกณฑ์เพื่อหวังว่าจะได้รับรางวัลหรือ
ได้รับการแลกเปลี่ยนที่สมน้ำสมเนื้อ
ขั้นตอนที่ 2 ขั้นมีศีลธรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณี
(วัยรุ่น หรือ วัยผู้ใหญ่) (conventional morality)
ขั้นที่ 3 – ทำตามศีลธรรมขนบธรรมเนียม
ประเพณี เพราะอยากเป็นเด็กดี หรืออยาก
ได้รับ ความ นิยมชมชื่น
ขั้นที่ 4- ทำตามกฎระเบียบของสังคมเพื่อให้สังคม
ความสุข เป็นปกติสุข
ขั้นตอนที่3 ขั้นหลังการมีศีลธรรมและจรรยาตามขนบธรรมเนียม
ประเพณี
(postconventional morality)
ขั้นที่ 5 –ตระหนักว่ากฎระเบียบประเพณีนิยมขึ้น
กับกลุ่มที่ตั้งสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา และยินดีที่จะปฏิบัติ
ตาม
ขั้นที่ 6- เข้าใจและทำตามกฎเกณฑ์ทางศีลธรรมที่
เป็นสากล เช่น ไม่ลักขโมยของที่เจ้าของ
เขา ไม่ให้
-เลือกศีลธรรม ค่านิยม เพื่อปฏิบัติตามที่
ตนเห็นเหมะสม







Kohlberg อธิบายว่าขั้นตอนพัฒนาการทางศีลธรรมจรรยาของเขามีความเป็นสากลในด้านขั้นตอน แต่ต่างไปในด้านระยะและรูปแบบอายุและรูปแบบศีลธรรมจรรยาอยู่บ้าง ขั้นตอนที่1 อยู่ในระยะวัยเด็กตอนต้นและตอนกลาง ขั้นตอนที่3และ4 อยู่ในระยะวัยรุ่น วัยรุ่นและผู้ใหญ่ส่วนใหญ่มีพัฒนาการทางศีลธรรมจรรยาถึงขั้น 3และ4 กล่าวคือการเลือกกฎระเบียบและศีลจรรยานั้นเกิดจากความต้องการความรักและความเอื้ออาทรจากผู้อื่น หรือทำตามกฎหมายบังคับ เด็กวัยรุ่นตอนปลายบางคนพัฒนาศีลธรรมจรรยาก้าวไปอีก 1 ขั้น โดยการแสดงหาเหตุผลแห่งกฎเกณฑ์ ประเพณีนิยม ค่านิยมทางศีลธรรมจรรยาที่ตนเห็นว่าไม่มีเหตุผล หรือล้าสมัย ถ้าหากบุคคลใดๆ ได้พัฒนาทางศีลธรรมจรรยาถึงขั้นที่ 6 เขาจะแสวงหาเหตุผลในเรื่องความยุติธรรม สิทธิและความเสมอภาค การนับถือความเป็นมนุษย์ของบุคคลและเขาจะเลือกทำตามเหตุผลทางนามธรรมเหล่านี้ที่ถูกต้องเหมาะสม มีค่า
ทั้งเด็กและผู้ใหญ่มีพัฒนาการศีลธรรมจรรยาในระดับที่แตกต่างกัน บางคนแม้เป็นผู้ใหญ่แล้วก็พัฒนาการได้แค่ระดับที่ 3 ขั้นตอนที่ 2 เท่านั้น ในขณะที่เด็กวัยรุ่นหลายคนอาจพัฒนาไปได้ถึงขั้นที่5 ในขั้นตอนที่3
อุดมคติวัยรุ่น
ช่วงวัยรุ่นเป็นช่วงที่เด็กพัฒนา “หลักการต่างๆบนพื้นฐานทฤษฏีต่างๆ”ดังนั้นเด็กวัยรุ่นจะพัฒนาสิ่งที่เป็นอุดมคติในแง่มุมต่างๆ
พัฒนาการทางสติปัญญาและการรู้จักหาเหตุผลเชิงศีลธรรมจรรยาทำให้เด็กคิดนึกถึงสิ่งที่เป็นอุดมคติ หากเด็กได้รับรู้และเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ทั้งทางตรงหรือทางอ้อมในแง่มุมต่างๆเช่นการมีชีวิตอุดมคติสังคมที่เป็นอุดมคติ หลักวิชาในแต่ละสาขาที่เป็นอุดมคติ ก็จะทำให้เขามีอุดมคติในทิศทางที่ตน สังคมและหลักวิชานั้นๆพึงประสงค์
การแสวงหาอุดมติ เด็กวัยรุ่นจะเรียนรู้สิ่งต่อไปนี้
1.การทำสิ่งใดๆ นั้นมีทางเลือกและทางออกของปัญหาหลายแง่มุม
2.คิดนึกถึงวิธีที่จะทำให้มนุษยชาติพ้นทุกข์ทั้งในแง่ส่วนตัวและแง่สังคม ปัญหาความยากจนความ
สับสนของสังคม การคอรัปชั่น การทำลายสิ่งแวดล้อม ปัญหาจราจร ปัญหาการขาด
วินัยในสังคม
3.ความคิดนึกเหตุผลด้านปรัชญาทางศาสนา วิถีชีวิตที่เป็นอุดมคติ
การสอนในสิ่งที่เป็นอุดมคติให้แก่วัยรุ่น เนื่องจากเด็กวัยรุ่นกำลังแสวงหาจุดมุ่งหมายของชีวิต ของวิชาชีพ และของสังคมการสอนในวัยเด็กกว่านี้เป็นช่วงที่เด็กเล็กเกินกว่าจะเข้าใจ หากสอนในวัยสูงกว่าก็เป็นช่วงที่คนไม่ค่อยสนใจ อนึ่งหากการศึกษาสมัยปัจจุบันไมสามารถสร้างอุดมคติวัยรุ่น(Adolescent idealism) ในทางที่เป็นประโยชน์และพัฒนาสังคมในด้านต่างๆแล้ว การพัฒนาบ้านเมืองให้เป็นไปในทิศทางที่พึงประสงค์ก็คงเป็นไปได้ยาก (เพราะไม้แก่มักดัดได้ยาก)
ความสำนึกทางการเมือง
เด็กวัยรุ่นที่มีการศึกษาและที่อยู่ในสังคมเมืองมักเริ่มมีความสำนึกทางการเมือง (Political awareness) ถ้าความสำนึกนี้ได้รับการส่งเสริม เขาจะเป็นเด็กวัยรุ่นที่มีความสนใจเรื่องการเมือง มีความคิดอ่านเรื่องความเป็นไปของบ้านเมือง และอยากร่วมตัดสินชะตากรรมของบ้านเมือง เพื่อพัฒนาสังคม ประวัติการเมืองในหลายๆประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เกาหลี ประเทศไท จีน ได้พิสูจน์ให้เห็นธรรมชาตินี้ในตัววันรุ่น เหตุการณ์เหล่านั้นได้พิสูจน์ให้เห็นว่าพลังวัยรุ่นสำคัญยิ่งที่สามารถพลิกโฉมทางการเมืองของหลายประเทศได้ หากวัยรุ่นไม่ตกป็นเครื่องมือของนักการเมืองที่ไร้คุณธรรมแล้วเขาจะเป็นพลังสำคัญที่พัฒนาระบบการเมืองของประเทศได้
สภาพทางอารมณ์ สังคม จิตใจของวัยร่น เอื้อต่อการเป็นพลังเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลายประการ เช่น
1.เป็นช่วงเวลาที่วัยรุ่นกำลังแสวงหาอุดมการณ์ทั้งส่วนตัวและอุดมการณ์ทางสังคม
2.เป็นช่วงเวลาที่วัยรุ่นมีความผูกพันกับกลุ่มเพื่อนอย่างแน่นแฟ้นและจงรักภักดี จึงมักรวมกลุ่มได้ง่ายกว่าวัยต่างๆ สามารถสร้างกลุ่มที่มีโครงสร้างแบบองค์กร จึงทำให้สร้างพลังกฎดันทางสังคม (social pressure) ได้ง่าย
3.เป็นช่วงเวลาที่เด็กวัยรุ่นแสวงหาวีรบุรุษ (hero) หรือผู้นำที่น่าเชื่อถือหากผู้นำทางสังคมและการเมืองคนใดทำให้เขาประทับใจ เชื่อถือได้ เขาจะจงรักสามิภักดิ์ และทำตามแบบอย่างไม่ตั้งคำถามสงสัย ในความถูกผิด หรืความน่าเชื่อถือ/ไมน่าเชื่อถือ
4.เป็นช่วงที่เวลาที่วัยรุ่นพัฒนาความคิดนึกอย่างมีเหตุผล เข้าใจเหตุผลของเหตุการณ์สังคมและการเมือง จึงอาจยอมรับแนวคิดทางสังคมและการเมืองใดการเมืองหนึ่งที่ตนเห็นในทิศทางเดียวกับเหตุผลของตน
การค้นหาตนเองและการเข้าใจตน
ความสนใจใคร่จะรู้จักตัวเองเป็นลักษณะธรรมชาติของพัฒนาการตามปกติและได้เริ่มมีตั้งแต่วัยทารกตอนปลายในลักษณะเด็กความเข้าใจตนเองว่าเป็นบุคคลหนึ่ง แล้วพัฒนามาเป็นการเริ่มรู้จักตนเองในวัยเด็กตอนกลาง ความรู้สึกอยากรู้จักตนเองนี้เป็นกระบวนการสืบเนื่องจนตลอดชีวิต แต่ความลึกซึ้งแตกต่างไปตามวัย การค้นหาตัวเองมีแง่มุมต่างๆ เช่น ความสนใจ รสนิยม ความถนัด ความสามารถที่แท้จริง ความไม่ชอบละชอบ
เด็กวัยรุ่นตอนต้นต้องการรู้จักตนเองอยากฟักใฝ่ในด้านความงาม ความเจริญเติบโต ความเข้ารูปเข้ารอยได้สัดส่วนของร่างกายทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนแปลงทางกายของเด็กระยะนี้เป็นไปอย่างรวดเร็ว บางคนด้วยความตื่นใจ ความภาคภูมิใจ และความไม่แน่ใจ โดยเฉพาะเด็กที่ยังไม่เคยได้รับทราบเกี่ยวกับเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางกายมาก่อน วัยรุ่นตอนต้นไม่จำกัดความอยากรู้เข้าใจเฉพาะความเป็นไปของร่างกาส่วนตัวเขาเท่านั้นแต่ต้องการรู้เรื่องราทางกายแลเพศสัมพันธ์ของเพื่อนร่วมวัย ร่วมเพศ และเพื่อนต่างเพศ
การค้นหาตัวเองและเข้าใจของวัยรุ่นด้านต่างๆ เป็นเรื่อยุ่งยากทั้งฝ่ายเด็กเอง และเพื่อนรามกลุ่มของเด็กเอง รวมไปถึงบุคคลแวดล้อมเด็กทั้งโรงเรียน ที่บ้านและสังคมด้วย ทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนแปลงทางกา การต้องทำตามบทบาทของเพศหญิงชาย ต้องทำตัวให้พ้นจากความเป็นเด็กความจำเป็นต้องเลือกอาชีพ
การค้นหาตนเองมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการนับถือวีรบุรุษ การแสวงหาอุดมคติ ค่านิยม และปรัชญาชีวิต กว่าเด็กวัยรุ่น จะ “พบตนเอง” อาจต้องประสบภาวะสับสนทางอารมณ์ ต้องพบภาวะการหลงตัวเองหรือการดูถูกตัวเองแท้จริงการค้นหาตัวเองได้เริ่มต้นมาแล้วตั้งต้นมาแล้วตั้งแต่วัยทารกตอนปลายอย่างไม่เข้มข้น จะต้อง“มีโครงร่างของตนเองเริ่มจากวัยรุ่น”จึงจะมีความมั่นคงในชีวิตและจิตใจสืบไปในอนาคตภายหน้า มิฉะนั้นจะลายเป็นบุคคลตื้นๆไม่เข้าใจตนเอง ไม่สามารถมีความสัมพันธ์อันลึกซึ้งกับผู้ใดได้ไม่มีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่นได้
Erickson (แอริคสัน) ให้ความสำคัญของ“การค้นหาตนเอง”ว่าเป็นพัฒนาการที่สำคัญของวัยรุ่นให้รู้จักตนเอง
ปัญหาที่เกิดกับวัยรุ่นเกี่ยวกับการค้นหาตนเอง
1.ไม่ทราบว่าจะค้นหาตนเองเพื่อจะเข้าใจตนเองได้อย่างไร
2.ค้นหาตนเองไม่พบ
3.ตนเองที่ไม่ใช่ตนเองที่แท้จริง เช่น เป็นตนเองในความคิดฝัน เป็นตนเองในแบบที่เพื่อนคาดฝัน หรือภาพลักษณ์ของวัยรุ่นที่ตนนิยม
4.มีภาพพจน์ที่เกี่ยวกับตัวเองที่สับสน
5.ภาพตนเองได้พบเป็นภาพที่ด้อยศักดิ์ศรี เต็มไปด้วยความน้อยเนื้อต่ำใจ
6.ค้นหาภาพพจน์ของตนเองอย่างผิดวิธี
7.สิ่งแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจ ครอบครัว ไม่ช่วยให้เด็กวัยรุ่นค้นหาตนเองและพบ“ตัวของตนเอง” ที่มั่นคงและมั่นใจในตัวเอง ในชีวิตและอนาคต
การช่วยลดปัญหาการค้นหาตน
การที่จะช่วยลดปัญหา หรือวิกฤตการณ์ในการค้นหา“ตน”เพื่อ“พบตน”ของวัยรุ่นนี้จะต้องเข้าใจถึงสิ่งที่มีอิทธิพลและวิธีค้นหา ซึ้งทั้งสองประการนี้มีความเกี่ยวข้องต่อกันและกันมีต่อดังนี้
1.บุคลิกภาพของพ่อแม่ วิธีปฏิบัติต่อกันแลกันของบุคคลในครอบครัว
ทัศนคติค่านิยมของครอบครัวเป็นแบบฉบับในการหล่อหลอม“ตน” ซึ่งค่อยๆสั่งสม วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตั้งแต่ในระยะวัยทารกจนกระทั่งของวัยรุ่น หากภาพของตนที่ได้สั่งสมนี้มีโครงสร้างมั่นคงตั้งแต่ต้น มีลักษณะตรงต่อความเป็นจริง ตรงต่อความคาดหวังของบุคคลอื่นๆ ในสังคมบ้านนอก เช่น เพื่อน ครู ค่านิยมของชนส่วนใหญ่ทั่วๆไป การค้นหาตัวเองก็ไม่ก่อให้เกิด ประเด็นปัญหามากมาย
2.การเลียนแบบ
การค้นหาตนเองนั้น วิธีนึ่งซึ่งเด็กมักนำมาใช้คือการเลียนแบบบุคคลที่น่านิยม ทั้งบุคคลในบ้านและนอกบ้าน ทั้งผู้สูงวัยกว่าและทั้งเพื่อนร่วมวัย ปัญหาและข้อบกพร่องในการเลียนแบบจะเกิดขึ้นในสถานการณ์ต่อไป
-บุคคลที่ได้รับการประเมินในขั้นแรกว่าเป็นคนที่น่านิยม ไม่มีคุณสมบัติเป็นคนดีที่น่านิยมจริงๆแต่เป็นคนเด่นในกลุ่มเท่านั้น
-เด็กไม่ได้ใกล้ชิดผู้ใหญ่ที่น่านิยม จึงไม่มีโอกาสเลียนแบบคุณสมบัติของความเป็นผู้ใหญ่ที่ดี
-เด็กไม่มีโอกาสได้พบเห็นและเลียนแบบบทบาทตามเพศของตนเองทำให้เกิดข้อขัดแย้งเกี่ยวกับบทบาททางเพศ และความสัมพันธ์กับเพศตรงข้าม
-เด็กมีชีวิตอยู่ในกลุ่มเพื่อนซึ่งเป็นบุคคลที่มีปัญหา เช่น ขาดความรับผิดชอบ สุรุ่ยสุร่าย มั่วสุมทางเพศ และเด็กเลียนแบบบุคคลเหล่านี้เพราะอยู่ใต้อิทธิพลของเขา
-อุดมคติ ค่านิยม ทัศนคติ ความเชื่อของคนสูงวัยกว่าวัยรุ่นแตกต่างจากวัยรุ่นปัจจุบัน อนึ่ง ชีวิตคนรุ่นพ่อแม่ปู่ย่าตายายแตกต่างจากคนวัยรุ่นอย่างมาก ทำให้เกิดการเลียนแบบผู้สูงวัยกว่า
3.สื่อมวลชนและการเอาอย่าง
สื่อมวลชนในรูปแบบต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ โทรศัพท์ หนังสือ การโฆษณา หนังสือการ์ตูนมีบทบาทและอิทธิพลต่อการค้นหาตนและพบตนเองของเด็กเป็นอย่างยิ่ง
ในบางคราววัยรุ่นรู้สึกว่าการค้นพบตนเอง บางครั้งก็พบกับปมขัดแย้งของออารมณ์และจิตใจเมื่อต้องตัดสินใจเลือกทำ เช่น ยอมทำตามเพื่อนดี หรือจะเลือกยืนหยัดตามมโนธรรมของตนเพื่อจะคงความเห็นตนตามอุดมการณ์ของตนดีกว่ากัน
วัยรุ่นผู้ที่จะผ่านภาวะวิกฤตในการค้นหาตนและค้นพบตนเองได้แก่
1.วัยรุ่นผู้ใช้ปัญญาเผชิญเหตุการณ์ของชีวิตมากกว่าใช้อารมณ์
2.วัยรุ่นผู้สู้ปัญหามากกกว่าที่จะยอมหนีปัญญา
3.วัยรุ่นผู้รู้เท่าทันธรรมชาติของตน
4.วัยรุ่นผู้ที่เห็นว่าตนนั้นยัง “มีผู้ใหญ่” เป็นที่พึ่งพิงได้เป็นบางครั้งบางคราว
ลักษณะอื่นๆ ที่รู้บางประการเกี่ยวกับวัยรุ่น
การย่างเข้าสู่วัยรุ่นเร็ว-ช้า
เด็กแต่ละคนย่างเข้าสู่วัยรุ่นเร็ว-ช้าเท่ากัน บางคนอาจเร็วกว่าเด็กที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกันค่อนข้างมก เรียนว่า ประเภทอายุโตเร็วกว่าอายุ (early maturer) หรือบางคนช้ากว่าเพื่อนรุ่นเดียวกัน เรียกว่า ประเภทโตช้ากว่าอายุ (late maturer) เด็กส่วนมากย่างเข้าสู่วัยรุ่นเวลาใกล้เคียงกันแม้ก่อนวัยรุ่น ลักษณะเช่นนี้ ไม่เด่นชัดมาก เท่ากับในระยะวัยรุ่น ทั้ง ด้านร่ากาย อารมณ์ และพฤติกรรมที่แสดงออก
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กโตเร็วหรือช้ากว่าอายุ หรือย่างเข้าสู่วัยรุ่นเร็วช้าผิดกันนั้นมีหลายประการดังนี้
1.ความแตกต่างทางเพศ เด็กหญิงย่างเข้าสู่วัยรุ่นเร็วกว่าเด็กชายอายุเท่าๆกัน
2.เชื้อชาติกรรมพันธุ์ เด็กตะวันตกเป็นสาวเป็นหนุ่มเร็วกว่าเด็กตะวันออก
3.สภาพสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ในครอบครัว ลักษณะอาชีพของบิดามารดา เด็กในสังคมอุตสาหกรรมย่างเข้าสู่วัยรุ่นเร็วกว่าเด็กในสังคมกสิกรรม เช่นเดียวกับเด็กในเมืองย่างเข้าสู่วันรุ่นเร็วกว่าเด็กในชนบท
4.ลักษณะอาหารที่เด็กรับประทาน จากการวิจัยพบว่าเด็กที่กินอาหารที่มีโปรตีนสูงย่างเข้าสู่วัยรุ่นเร็วเด็กที่กินคาร์โบไฮเดรตมาก
5.การทำงานของต่อมไร้ท่อแตกต่างกัน ต่อมนี้ผลิตฮอร์โมนทางเพศซึ่งเป็นเร้าให้ลักษณะทุติยภูมิทางเพศโตเร็วหรือช้า
การโตเร็วหรือช้า ของเด็กวัยรุ่นมีผลกระทบต่อวัยรุ่นหลายๆด้าน เช่น ปรับตัวต่อความเป็นวัยรุ่นภาพลักษณ์ของตนเองทางร่างกาย(Body image) ซึ่งภาพลักษณ์ของร่างกายมีความสำคัญต่ออารมณ์และจิตใจของวัยรุ่นมากกว่าวัยอื่นๆ เนื่องจากคุณค่าของวัยรุ่นส่วนหนึ่งมาจาก “รูปร่างหน้าตาของตน เป็นอย่างไรในสายตาของคนอื่น”


รายงานผลการวิจัยเกี่ยวกับเด็กวัยรุ่นโตเร็วช้ามักพบผลตรงกัน ดังนี้
1.เด็กชายวัยรุ่นที่โตเร็วมกได้เปรียบกว่าเพื่อนที่โตช้าในบางด้านโดยเด็กโตเร็วมักเล่นกีฬาได้เก่งกว่ามักได้รับเลือกเป็นหัวหน้า เพื่อนๆ และครูมักชอบมากกว่า มักอารมณ์ดีกว่า สุขุมเยือกเย็นกว่าเมื่อพ้นวัยรุ่นไปเป็นผู้ใหญ่ก็มักได้รับความก้าวหน้าในอาชีพพรวดเร็ว แต่ก็มีข้อแม้ว่า เด็กชายที่โตเร็วบางคนมีอารมณ์เครียดสูง เพราะถูกเร่งรัดให้ทำอะไรเร็วเกินที่เด็กจะทำได้จริง ต้องมีความรับผิดชอบเร็วเกินที่เด็กจะทำได้จริง ต้องมีความรับผิดชอบเร็วเกินไป ต้องถูกบีบบังคับให้เลือกอาชีพและประกอบอาชีพเร็วเกินไป
2.เด็กชายวัยรุ่นที่โตช้ากว่าเพื่อนร่วมรุ่นมักรูปร่างเล็ก มักพัฒนาการด้านต่างๆ ช้าขี้อายกับเพื่อนเพศตรงกันข้าม เพื่อนหญิงมักไม่สนใจและมักนำไปล้อเลียน มักมีบุคลิกลักษณะขี้ตื่น ชอบทำอะไรที่ไม่โลดโผนไม่ตื่นเต้นท้าทาย ขาดความมั่นใจในตนเอง เมื่อผ่านพ้นวัยรุ่นและได้มีกิจกรรมอื่นๆชดเชยที่ทำให้เขาภูมิใจ ลักษณะทางลบต่างๆจะหายไปกลายเป็นที่ชอบอิสระไม่ผูกมัดตัวเองกับกฎระเบียบประเพณีนิยมมากนัก อยากรู้อยากเห็น มองและข้าใจอะไรได้ลึกซึ้งเด็กโตช้ามักมีเวลานานที่ตนจะแสวงหาตนได้ถี่ถ้วนมีโอกาสได้ใช้เวลาเลือกอาชีพและไตร่ตรองในเรื่องอาชีพที่เหมาะสมกบนิสัยของตนจริงๆ
3.เด็กหญิงวัยรุ่นโตเร็วมักมีผลการเรียนรู้ไม่สู้ดี มักมีปัญหาความประพฤติ มักรู้สึกกังวลใจเกี่ยวกับรูปร่างหน้าตาที่เลี่ยนไปสูง เด็กหญิงวัยรุ่นที่โตเร็วมักช่วยตัวเองได้เร็วกว่า
ความต้องการของวัยรุ่น
เด็กแต่ละวัยมีความต้องการแตกต่างกัน เช่น วัยเด็กตอนต้นและตอนกลางตองการเล่นสนุกวัยผู้ใหญ่ตอนกลางต้องการความสำเร็จ ความมีหน้ามีตาในอาชีพ ส่วนความต้องการของวัยรุ่นมีดังนี้
1.ต้องการความเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ไม่ต้องอยู่ใต้คำสั่งคำบังคับของผู้ใดโดยเฉพาะบุคคลที่มีอำนาจหรือผู้ผุ้สูงวัยกว่า รวมทั้งพ่อแม่ผู้ปกครอง เพราะเด็กวัยรุ่นเชื่อว่าลักษณะที่เป็นเครื่องหมายของความเป็นผู้ใหญ่คือ ความเป็นอิสระจากผู้ทีมีอำนาจเหนือตน
2.ต้องการมีตำแหน่ง (status) รวมทั้งต้องการความสนับสนุน (approval) ทั้งจากผู้ใหญ่และเพื่อนร่วมรุ่นกัน
3.ต้องการแสวงหาประสบการณ์แปลกๆใหม่ๆบางครั้งรวมทั้งความท้าทายตื่นเต้น เกลียดความจำเจซ้ำซาก อบทดลอง ยิ่งถูกห้ามยิ่งอยากลอง ฉะนั้นระยะนี้ เด็กวัยรุ่นไม่ว่าที่ไหนสมัยใดมักชอบฝ่าฝืนกฏเกณฑ์ระเบียบต่างๆเด็กบางคนอาจชอบลองสิ่งที่ผิดๆเช่น ยาเสพติดประพฤติผิดทางเพศต่อต้านกฎเกณฑ์ของสังคมและสถาบันเพื่อจะดูว่าผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไรหรือบางคนอยากลองเพื่อประชดชีวิต
4.ความต้องการรวมพวกพ้อง มีกลุ่มก้อนเป็นวามต้องการค่อนข้างสูงเพราะการรวมวกพ้องเป็นวิถีทางให้เด็กได้รับสนองความต้องการหลายประการเช่น ความรู้สึกอบอุ่นใจการได้รับการยกย่องความรู้สึกว่ามีผู้เข้าใจตนร่วมทุกข์ร่วมสุขกับตน
5.ความต้องการความรู้มั่นคงอุ่นใจและปลอดภัยเพราะเด็กมีอารมณ์ที่อ่อนไหวง่ายเปลี่ยนแปลงง่ายสับสนและลังเลง่ายเด็กจึงมีความต้องการเช่นนี้ค่อนข้างสูง
6.ความต้องการความถูกต้อง ความยุติธรรมเกถือว่าความยุติธรรมเป็นลักษณะหนึ่งของความเป็นผู้ใหญ่เด็กจึงให้ความสำคัญอย่างจริงจังต่อความถูกต้องยุติธรรมตามทัศนะของตนเป็นอย่างยิ่งและอยากทำอะไรหลายๆอย่างเพื่อเรียนร้องความยุติธรรมทังในแง่ส่วนบุคคลและสังคม
7.ความต้องการความงามทางด้านร่างกายไม่ว่าวัยรุ่นชายหรือหญิงต้องการให้คนอื่นรู้สึกชื่นชมเกี่ยวกับรูปลักษณะของตนเพราะคิดว่าคามงามทางกายเป็นแรงจูงใจให้เข้ากกลุ่มได้ง่ายเป็นที่ยออมรับของสังคมและดึงดูดใจเพศตรงข้ามจึงเอาใจใส่ต่อการออกกำลังกายลักษณะอาหารที่รับประทานทรงผมเสื้อผ้าเครื่องประดับสุขภาพอนามัยความงดงามทางกายเป็นส่วนหนึ่งของความภาคภูมิใจและมั่นใจตัวเองของวัยรุ่น
8.ความต้องการประพฤติตนสมตามบทบาททางเพศของตนในระยะนี้ผู้ที่มีความรู้สึกว่าตนเอง“ไม่สมเป็นชายชาตรี” “หรือไม่สมเป็นหญิงสาว”จะรู้สึกไม่แน่ใจและไม่สบายใจเกี่ยวกับตนเองความรู้สึกนี้ถ้าเกิดกับใครแล้วย่อมจะพยายามแก้ไขทุกวิถีทางโดยทั่วไปเด็กวัยรุ่นทั้งหญิงและชายพยายามประพฤติให้ ดูงดงามสมเป็นสุภาพสตรีหรือดูแข็งแรงบึกบึนสมเป็นชายชาตี
9.ความต้องการเลือกอาชีพเด็กโตพอที่จะมองเห็นความสำคัญของอีพและเข้าใจว่าอาชีพนำมาซึ่งสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
ความสนใจ
ลักษณะความสนใจของเด็กวัยรุ่นยังคงมีขอบข่ายกว้างขวาสนใจหลายๆด้านได้แก่
1. สนใจการศึกษา
สภาพเศรษฐกิจสังคมสมัยปัจจุบันกระตุ้นให้เด็กเข้าใจและเห็นความสำคัญของการศึกษาซึ่งเกี่ยวโยงกับอาชีพเกี่ยวกับฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมความสนใจการศึกษามากน้อยเพียงใดแนะแนวที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับครอบครัวอุดหนุนเพียงใดรับการศึกษาอบรมมาอย่างไรมีประสบการณ์อะไร นอกจากนี้ เพศ ระดับสติปัญญาและโอกาสเข้ากลุ่มก็มีส่วนช่วยนำความสนใจด้วย
2.สนใจช่วยเหลือบุคคลอื่น
เด็กวัยรุ่นมักสนใจและช่วยเหลือบุคลอื่นที่เขาเห็นว่าได้รับความลำบากและไม่รับความยุติธรรมเพราะบ่อยครั้งเคยรู้สึกว่าตัวเองอยู่ในฐานะเช่นนั้นและเคยสะเทือนอารมณ์
3.สนใจกิจกรรมสร้างสรรค์
กิจกรรมที่เป็นของใหม่และมีประโยชน์ ช่วยระบายความเคร่งเครียดอารมณ์เด็กวัยรุ่นมักให้ความร่วมมือ
4.สนใจวัฒนธรรมประเพณี
ระยะนี้เด็กสามารถเข้าใจและมองเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมประเพณีว่ามีความสำคัญต่อบุคคลและต่อสังคมส่วนรวมการให้ความรู้ความเข้าใจและชักชวนเด็กให้สนใจอย่างถูกทางเพื่อสร้างให้เด็กรักวัฒธรรมประเพณี
5.สนใจศาสนา ปรัชญา และอุดมคติ
เด็กวัยรุ่นกำลังเสาะแสวงหาหลักการในการแก้ความทุกข์ร้อนทาจิตใจ และแนวทางดำเนินชีวิตอย่างผู้ใหญ่จึงให้ความสำคัญแก่ศาสนา ปรัชญาและอุดมคติและค่านิยมต่างๆ
6.สนใจมีเพื่อนสนิทต่างเพศ ความสนใจนี้สืบมาจากทางกายบรรลุภาวะทางเพศเริ่มในวัยแรกรุ่นและความติองการดำเนินชีวิตอย่างผุ้ใหญ่พัฒนาการทางด้านความสัมพันธ์กับคนต่างเพศที่เลยความเป็นเพื่อนไปแล้ว3ขั้นตอนดังนี้
ขั้นของความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น เพราะความรู้สึกอยากแข่งขันเพื่อต้องการทดเทียมแบบนี้ไม่ยั่งยืนไม่ต้องกการความเข้าอกเข้าใจมากนัก เป็นแบบเล่นสนุกชั่วครั้งชั่วคราว
ขั้นที่สองเรียกว่าขั้นเลือกค่อนข้างะเลือกเฟ้นและจริงจังขึ้นบ้าง
ขั้นที่สามเรียกว่า ขั้นแน่ใจ สัมพันธะภาพค่อนข้างแน่นแฟ้นจริงจัง
การเล่น
การแล่นยงคงมีความสำคัญต่อเด็กวัยแรกรุ่นและวัยรุ่น เพราะเป็นวิธีสนองความต้องการทางสังคม แลสติปัญญา เด็กวัยรุ่นชอบเล่นกับเพื่อทั้งต่างเพศและเพศเดียวกัน แต่ถ้าไม่เล่นรวมกับต่างเพศและเพศเดียวกันจะเดความสนุกสนานการแล่นหมายรวมถึงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ถ้าเล่นกันเป็นเกมก็จะเป็นที่ซับซ้อน มีกฎ ระเบียบ ความยาก มากขึ้นผู้ชายชอบการเล่นที่ผาดโผนตื่นเต้น ใช้พละกำลังมากๆหญิงชอบการเล่นที่ไม่หักโหมรุนแรงและกรอบระเบียบมากกว่าชาย(fuhrmann 1990)
ลำดับที่ของพี่น้องที่มีผลต่อพฤติกรรมแลบุคลิกภาพ
ลำดับการเกิดนครอบครัวมีอิทธิพลต่อลักษณะบุคลิกภาพและพฤติกรรมของวัยรุ่น(fuhrmann1990)
ลูกคนแรก มักจะมีลักษณะมุงความสำเร็จ (achievement-oriented) มักเข้าสังคมได้ดีมีความมั่นใจในตนเองสูงแต่ลูกคนแรกมักจะมีความวิตกกังวลสูงกว่าลูกคนหลังๆ
ลูกคนเกิดหลังๆจะมีปัญหามากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกคนกลาง จะเหมือนกับเด็กถูกทิ้งอยู่ตรงกลางเพราความคาดหวังออยู่กับลูกคนแรกและความเอ็นดูจะอยู่กับลูกคนสุดท้อง
ความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้อง มีการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ที่แนบสนิทมักจะเกิดกับพี่น้องเพศเดียวกัน การแข่งดีกันระหว่างพี่น้องมักจะเกิดขึ้นในหมู่ลูกที่ข้าสู่เด็กวัยรุ่นเป็นไป โยเฉพาะพ่อแม่ที่ชอบเปรียบเทียบลูกคนนั้นกันคนนี้จะทำให้เกิดปัญหาทั้งปมด้อยและปมเด่น
ช่วงห่างระหว่างพี่น้อง
ผลการศึกษาพบว่าช่วงห่างระหว่างลำดับที่ของพี่น้องมีความสำคัญมกกว่าที่จริงๆ(fuhrmann1990) คือ
1.ถ้าช่วงห่างระหว่างพี่น้องมาก เด็กวัยรุ่นจะเห็นว่ามีเรื่องของการลงโทษน้อยลงและมีการสนับสนุนกันและกันมากขึ้น
2.ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับเด็ก จะดีที่สุดถ้าพี่น้องมีอายุติดกันมาก (น้อยกว่า 1ปี) หรือไม่ก็ห่างกันไปเลย(4ปีหรือมากกว่า)ช่วงห่างมากจะมีความสัมพันธ์ที่มาก แต่ช่างห่าง2-3ปีจะมีความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยดี
3.ลูกชายคนกลางจะถูกลงโทษมากกว่า ได้รับการสนับสนุนน้อยกว่าลูกคนแรกและลูกคนสุดท้อง
4.การเข้าสู่สภาวะผู้ใหญ่
ช่วงวัยรุ่นเป็นช่วงที่เด็กพยายามละทิ้งพฤติกรรมแบบผู้ใหญ่ ทั้งในแง่ของพฤติกรรมที่แสดงออก เช่น การพูด การคบหาสมาคมระหว่างเพื่อน ระหว่างเขากับผู้สูงวัยและอ่อนวัยกว่า และในแง่ของพฤติกรรมภายใน เช่น การควบคุมอารมณ์ การตั้งความปรารถนาบนรากฐานของคามเป็นจริง ในขณะที่เขาพยายามปรับตัวเพื่อจะเป็นผู้ใหญ่นี้ เขามักจะมีคำถามถามตนเองอยู่เสมอๆ เช่น ทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้ใหญ่ ทำอย่างไรจึงจะมีบทบาทอย่างผู้ใหญ่ ในขณะเดียวกับที่เขาอยากเป็นผู้ใหญ่นั้น เขารู้สึกอาลัยอาวรณ์ความรู้สึกปลอดภัยและความสนุกสนานเยี่ยงเด็ก เช่น การใช้เวลานานๆ ในกรเล่นสนุก การได้รับความคุ้มครองจกพ่อแม่ ผู้ใหญ่(พึ่งพิง) การไม่ต้องตัดสินปัญหาต่างๆ โดยตนเอง ฯลฯ ภาวะเช่นนี้เป็นภาวะการัดแย้งต่อตนเอง

ปัญหาประจำวัย
ปัญหาประจำวัยรุ่นมีมากมายหลายประการ แต่เนื่องจากหนังสือเล่มนี้ไม่ได้มุ่งหมายให้เป็นหนังสือเรื่องวัยรุ่นโดยเฉพาะเจาะจง จงไม่ประสงจะนำมากล่าวโดยละเอียด ขอยกตัวอย่างปัญหาที่สำคัญมาเสนอ เช่น การมีตนอันสับสน การมีอารมณ์ไม่มั่นคง ประเดี๋ยวดีประเดี๋ยวร้าย เปลี่ยนใจง่าย ปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศ ปัญหาการแสวงหาอุดมการณ์วัยรุ่น ปัญหาการเลือกอาชีพ ปัญหาช่องว่างระหว่างวัย ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้อภิปรายมาบ้างแล้วโดยสังเขป สำหรับผู้ต้องการศึกษาในแนวลึกขอให้ศึกษาจากหนังสือจิตวิทยาเล่มอื่นๆต่อไปอีก

วัยรุ่นที่เป็นปัญหา
แม้เป็นที่ยอมับกันว่าวัยรุ่นผู้มีพัฒนาการดีตามวัย มักเข้าสู่วัยนี้และผ่านพ้นวัยนี้ไปอย่างไม่เป็นคนเจ้าปัญหา แต่ก็มีวัยรุ่นที่ปรับตัวไม่ได้ หรือปรับตัวไม่ถูกวิธี กลายเป็นวัยร่นที่มีปัญหา ซึ่งอาจนำไปสู่ความเดือดร้อนต่อตนเองหรือครอบครัว สังคม ซึ่งมีหลายประเภท แต่จะนำมาอภิปรายเฉพาะวัยรุ่นเจ้าปัญหาที่เรามักพบเห็นเป็นประจำทั้งในบ้าน ในสถาบันการศึกษาและตามถนนหนทางดังนี้



วัยรุ่นที่เร่งรีบ
เมื่อแยกแยะปัญหาเด็กเร่งรีบจะพบว่าสาเหตุที่ทำให้เด็กมีปัญหาหามาจากพ่อแม่ โรงเรียน และสื่อมวลชน ดังจะอภิปรายตามสมควร ดังนี้(เก็บความจาก Fuhrmann 1990; Gormly &Brodzinsky 1989 ; ศรีเรือน แก้วกังวาน 2536ข)
1.แรงกดดันจากพ่อแม่
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา พ่อแม่ของเด็กที่เป็นชนชั้นกลาง มีความพยายามที่จะสร้างฐานะที่มั่นคงเพราะสภาพสังคมบีบรัดผลักดันให้ต้องยกฐานะขึ้น ดังนั้นพ่อแม่จึงมักจะตั้งคามหวังไว้ที่ลูกๆของตน ให้ลูกเป็นตัวแทนความสำเร็จของตนที่ขาดไป พ่อแม่จะใช้เด็กเป็นเครื่องบ่งบอกสถานะของตนเอง การเข้าโรงเรียนที่มีชื่อเสียง การแต่งตัวที่ดูดี การเรียนพิเศษ การสอบเข้ามหาวิทยาลัย กลายเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดที่ตอกย้ำให้กับเด็ก เด็กจะไม่มีโอกาสเป็นคนกลางธรรมดา แต่จะต้องเป็นเด็กดีเยี่ยม เด็กกวดวิชา เรียนพิเศษ สอบเข้าโรงเรียนอนุบาล เด็กบางพวกนอกจากจะเรียนหนังสือแล้ว จะมีตารางกิจกรรมตลอดเวลา เด็กจะต้องเรียนเปียโน ดนตรี ว่ายน้ำ วาดรูป
เต้นบัลเล่ต์ และอื่นๆ ซึ่งอาจถูกเรียกว่าเด็กถูกวางโปรแกรมไว้มากมายเกินความจำเป็น(Over Program) เราจะพบพ่อแม่ที่พยามยามผลักดันให้ลูกเป็นนักดนตรี นักกีฬา หรืออื่นๆ และเด็กหลายคนที่มีชื่อเสียงทางด้านดนตรี กีฬา หรือนักแสดงจะมีปัญหาชีวิตส่วนตัว เนื่องจากถูกผลักดันให้โตเร็วและมีความรับผิดชอบเร็วเกินวัย ปัญหาพ่อแม่ไม่มีเวลาให้กับเด็ก จะด้วยปัญหาอย่าร้าง ทำงานหนัก พ่อแม่เดียว และ หรือ อื่นๆก็ตาม

2.แรงกดันจากโรงเรียน
ในสังคมเทคโนโลยีชั้นสูงสมัยใหม่ เราต้องการคนที่มีความสามารถและมีทักษะสูงตามไปด้วย โรงเรียนมีหน้าที่ที่จะต้องผลิตบุคลากรป้อนให้กับสังคม โรงเรียนสมัยใหม่มักจะถูกเรียกว่า “อุตสาหกรรม” ที่ผลผลิตคือเด็ก โรงเรียนจับเด็กเข้าสู่สายการผลิต วางโปรแกรม และออกมาเป็นผลผลิตที่สังคมอุตสาหกรรมต้องการ
เด็กนักเรียนมัธยมจะมีการแข่งขันกันสูง เด็กจะต้องประสบผลสำเร็จทั้งในโรงเรียนและในการแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัย หากเข้าไมได้ นอกจากจะสูญเสียความมั่นใจในตนเองแล้ว ยังมีปัญหาทางอารมณ์อื่นๆ เช่น อับอายเพื่อนฝูง ครู และ ถูกแรงกดดันจากพ่อแม่อีกด้วย

3.แรงกดดันจากสื่อมวลชน
ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วีดีโอ มีบทบาทต่อความคิดและทัศฯคติของเด็ก ภาพความรุ่นแรง ความสัมพันธ์ทางเพศ มีอิทธิพลต่อสิ่งที่เด็กเชื่อถือ ยืดเอาเป็นแบบอย่าง เด็กเห็นภาพหวาดเสียวในขณะที่เด็กอาจอยู่ในวัยที่ยังรับเรื่องนั้นไม่ได้ หรือยังไม่สามารถแยกแยะตรึกตรอง ได้ว่าสิ่งที่เห็นหรือสิ่งที่ได้ยินมีข้อดีข้อเสียอย่างไร
นิตยาสาร วารสาร หนังสือ เป็นสิ่งที่เด็กเข้าถึงได้โดยง่าย ในทางกลับกันภาพยนตร์หรือละครชีวิตครอบครัว ที่ปรากฏทางโทรทัศน์ก็ดูดีเกินจริง ชวนให้เด็กชื่นชมเพ้อฝันพอๆกับภาพยนตร์ที่ขายความรุ่นแรงและเรื่องเพศ



วัยรุ่นอ้วน-ผอม

1. โรคอ้วน
คำจำกัดความของโรคนี้คือ คนที่มีน้ำหนักเกินกว่าปกติ ที่ควรจะมีมากว่า 20% ตัวอย่าง เช่น วัยรุ่นที่ควรจะมีน้ำหนัก 40 กิโลกรัม แต่หนักถึง 70 กิโลกรัม เราจะถือว่าเป็นโรคอ้วน (ทั้งนี้ยกเว้นว่า30กิโลกรัม ที่เกินมานั้นเป็นกล้ามเนื้อไม่ใช่ ไขมัน )
Maloney (1983 อ้างจาก Fuhrmann 1990) สรุปสาเหตุโรคอ้วนไว้หลายประการ เช่น
อารมณ์ บางคนกินเพื่อแก้ความเหงาหลีกเลี่ยงการเข้าสังคม หรือทดแทนการขาดทิศทางและความเชื่อมั่นในตนเอง นอกจากนี้ยังเป็นเพราะ ต้องการประชดอะไรบางอย่าง
พันธุกรรม คนอ้วนมักจะคนที่มีระบบการย่อยอาหารหรือต่อมไร้ท่อแตกต่างจากคนน้ำหนักปกติ และมักจะมีเซลล์ไขมันมากผิดปกติ
พัฒนาการและการเลี้ยงดู วัยรุ่นที่อ้วนมักจะถูกให้กินมากเกินไปในวัยเด็ก พ่อแม่บางคนใช้วิธีการให้อาหารเป็นรางวัลแก่ลูก จนทำให้ลูกสับสนกับความรู้สึกหิว คนที่เป็นโรคอ้วนมักจะกินได้โดยไม่รู้สึกหิว
มีกิจกรรมน้อย คนที่เป็นโรคอ้วน มักจะไม่ค่อยมีกิจกรรมออกกำลังกายมากนัก เมื่อเทียบกับคนน้ำหนักปกติ
ประสาทและความเสื่อมสมรรถภาพทาสมอง บางครั้งทำให้เกิดปัญหาในด้านการรับประทานอาหาร

2.โรคอดอาหาร
ติดอยู่กับคามผอมบาง เขามักจะตั้งข้อจำกัดในการกินอาหารของตนเอง โดยปกติแล้วมักจะกินน้อยกว่า 80-100 แคลลอรี่ ต่อ วัน ทำให้สูญเสียน้ำหนัก 25-50% ของน้ำหนักปกติ
การมองภาพตนเองบิดเบือน เขามักจะมองเห็นตรงนั้นตรงนี้อ้วนทั้งๆที่ไม่ได้อ้วนผิดปกติ เจ้าตัวมักจะปฏิเสธว่าไม่หิว ไม่ป่วย และบอกว่าตนเองสบายดี และมักจะเป็นผู้ที่แยกแยะคามรู้สึกหิวไม่ได้
ไฮเปอร์แอคทีฟ นอกจากจะพยายามออกกำลังกายอย่างหักโหมแล้วยังจะมีอาการตื่นตัวไม่ค่อยพักผ่อนและนอนหลับยาก
ปัญหาทางร่างกายอื่นๆ นอจากจะมีปัญหาด้านการสูญเสียน้ำหนัก ขาดอาหารแล้ว ยังจะมีผลต่อด้านร่างกายในด้านการมีประจำเดือน อาจมาๆหายๆ

5.วัยรุ่นที่ไม่มีความสุขในการเรียน

Anorexia nervosa มีอาการคือจะกินเข้าไปอย่างมาก และหลังจากนั้นก็จะอาเจียนออกมาหรืออดอาหารไประยะหนึ่งคนที่เป็นโรคนี้มักเป็นคนที่มีอายุมากกว่า 2 โรคแรก และมีอาการหนักกว่าคือมักเป็นผู้มีความต้องการกินอาหารอย่างมากมีความซึมเศร้าอย่างมาก รู้สึกผิดมาก และไม่พอใจในตนเองมากกว่า
ปัญหาของคนที่เป็นโรคนี้มักไม่ใช่ปัญหาที่เกิดจากครอบครัว แต่เป็นปัญหาส่วนตัวมากกว่า เป็นบุคคลที่ต้องการความเอาใจใส่ความสนใจจากคนรอบข้าง ผู้ใกล้ชิดต้องการกำลังใจและอย่าให้อยู่คนเดียวนานเกินไป

วัยรุ่นที่ไม่มีความสุขในการเรียน
เนื่องจากวัยรุ่นมักเป็นระยะสุดท้ายหรือเกือบขั้นสุดท้ายของการเรียนอย่างเป็นทางการ (Formaleducation) ก่อนเข้าสู่โลกอาชีพและโลกครอบครัว การเรียนรู้ในขั้นนี้เป็นการเรียนรู้ที่หนักหนาจริงจังและแข่งขันกับเด็กส่วนมาก มีเด็กส่วนหนึ่งที่มีปมด้อย ในความสามารถด้านการเรียนรู้ (leaning disabilities) ซึ่งได้กล่าวมาบ้างแล้วในบทที่ 5จึงจะไม่กล่าวอีก กลุ่มอาการที่ด้อยในการเรียนรู้นี้ถ้าได้รับการแก้ไขตั่งแต่เด็กตอนปลายก็จะเรียนได้ดีและประสบความสำเร็จในช่วงวัยรุ่นแต่ในเด็กอีกประเภทหนึ่งในระยะวัยรุ่นที่เรียนอยู่โรงเรียน วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัยอย่าง”ไม่มีความสุข”
วัยรุ่นพวกนี้มีพฤติกรรมโดยรวมๆที่อาจสังเกตเห็นได้เช่น ทำผิดซ้ำแล้วซ้ำอีก(เช่น มาโรคเรียนสายเสมอ สกปรกประพฤติพิกลๆแต่ไม่ทำร้ายคนอื่น หรือทรัพย์สินของใคร) ผู้ใหญ่และครูประณามว่าเด็กมีปัญหาด่าว่าหรือลงโทษโดยวิธีต่างๆ เด็กมีประติกิริยาโต้ตอบ เป็นต้นว่า เรียนเลว สอบตก หนีโรงเรียน ฝ่าฝืนกฎระเบียบ สูบบุหรี่ ดื่มเหล้าประพฤติผิดทางเพศ ทำลายตัวเอง หรือฆ่าตัวตาย
ได้มีผู้ทำการศึกษาเด็กเหล่านี้และพบว่าลักษณะร่วมกันของเด็กกลุ่มนี้คือ ไม่ใช่เด็กโง รู้ดีว่าอะไรผิดอะไรถูก อะไรควรอะไรไม่ควร ไม่ชอบตัวเองพร้อมทั้งเกลียดซังคนอื่น เบื่อ ไม่อยากทำอะไร ไม่รู้ว่าจะทำไปทำไม วัยรุ่นกลุ่มนี้มักทอดอาลัย มองไม่เห็นว่าตนจะเปลี่ยนไปเป็นคนดีมีความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อการเรียนของตนได้อย่างไร ข้อที่ร้ายสุดมักเป็นเด็กที่พ่อแม่ทอดทิ้ง ไม่อยากรับผิดชอบต่ออนาคตของเด็กพ่อแม่ให้ความสนใจเมื่อเด็กมีปัญหาเท่านั้น เมื่อเด็กทำดีไม่เคยให้กำลังใจหรือแพยายามรับรู้ความสามาร๔ของเด็กเด็กเหล่านี้มี ความสนิทสนมกับผู้ใหญ่ไม่กี่คนไม่มีความสุขที่ได้อยู่กับพ่อแม้แม้ระยะสั้นๆสิ่งที่ประทับใจเด็กก็คือพ่อแม่ผู้ให้ที่ตนรู้จักไม่เคยยกย่องชื่นชมเลยมีแต่คำแนะนำสั่งสอนบอกให้ตนทำโน่นทำนี้ ผู้ใหญ่นึกไม่ถึงว่าการบอกแนะทำเด็กคือการตำหนิติเตียน เด็กถือว่าเป็นการลงโทษ
แนวทางแก้ไข
1.ต้องให้โอกาสแก่เด็ก ให้โอกาสที่จะทำให้เขารู้ว่าตนมีค่า
2.ให้เขาเห็นความหมายของสิ่งที่เรียน
3.ให้เขามีศรัทธาในตัวเอง และมองเห็นว่าตนสามารถพัฒนาตน หรือเปลี่ยนแปลงไปสู่ชีวิตที่ดีกว่า สามารถเป็นผู้เรียนที่มีความสุขได้ และสามารถ สร้างสัมพันธภาพเชิงบวกกับคนอื่นได้
4.ผู้ใหญ่รู้จักฟังเด็กบ้าง แสดงความสนใจในตัวเขาบ้าง
5.ให้เด็กได้พบปะกับผู้ใหญ่ที่เขาใจในตัวเขา ไม่ประณาม แต่เห็นใจ และสนับสนุนส่งเสริมผู้ใหญ่ต้องแสดงให้เด็กเห็นว่าผู้ใหญ่ก็มีจุดอ่อน มิใช่ผู้วิเศษ
6.ผู้ใหญ่มีเมตตาต่อเด็ก ปฏิบัติดูแลเขาเหมือนกับช่วยเพื่อนที่มีปัญหา ให้ความสนใจและชื่นชมเขาเมื่อเขาทำอะไรๆ เป็นผลสำเร็จ เป็นชิ้นเป็นอัน รู้จักปฏิเสธเมื่อเด็กทำไม่ถูกต้อง ไม่หาเสียงและความรักจากเด็กโดยตามใจเด็กไปในทุกๆเรื่อง
7.หัดให้เด็กรับผิดชอบต่อตนเอง ให้เด็กลองผิดลองถูก และถือเอาความผิดเป็นบทเรียนเพื่อแก้ไขเพื่อจะได้รู้จักรับผิดชอบตนเองในอนาคต
8.ควรคำนึงถึงความบกพร่องทางกายของเด็กอย่างไดอย่างหนึ่งที่อาจทำให้เด็กเรียนอย่างไม่มีความสุข เช่น โภชนาการ การพักผ่อนให้เพียงพอ พัฒนาด้านการเคลื่อนไหวและด้านการรับรู้
วัยรุ่นติดบุหรี่
บุหรี่เป็นสิ่งเสพติดชนิดหนึ่ง ปัจจุบันมีการต่อต้านการสูบบุหรี่กันมากทั่วโลก เพราะพิษร้ายที่เกิดจากบุหรี่นั้นมิได้เกิดเฉพาะผู้สูบเท่านั้น แต่ทำให้มีผลข้างเคียงพลอยได้รับเคราะห์กรรมไปด้วย นิโคตินที่ถูกเผาลอยไปในอากาศให้โทษแก่ผู้อื่นพอๆกับหรือมากกว่าผู้สูบ
นิโคตินในบุหรี่เข้าไปเร้าประสาท ต่อมามันจะไประงับสารเคมีผ่านเซลล์ประสาททำให้ประสาทควบคุมต่อมน้ำลายและกระเพาะอาหารได้รับการกระทบกระเทือน ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ทั่วๆไปค้นพบว่านิโคตินเป็นสาเหตุโดยตรงของโรคหลายชนิด เช่นมะเร็งปอด เนื้องอกในสมอง และยังเป็นสาเหตุทางอ้อมคือ ทำให้สุขภาพเสื่อม ร่างกายอ่อนแอ ดังนั้นวัยรุ่นที่ได้เรียนรู้โทษของบุหรี่จึงไม่ควรติดบุหรี่เพราะนอกจากจะทำให้เสียสุขภาพแล้วยังเป็นการเผาเงินของ พ่อแม่อีกด้วย
วัยรุ่นฆ่าตัวตาย
1. สาเหตุ
(1) สมัยก่อนเชื่อกัน ว่าวัยรุ่นเป็นระยะเวลาที่เด็กมีความเครียดสูง เพราะการเปลี่ยนวัย แต่ปัจจุบันเหตุผลดังกล่าวไม่เป็นที่ยอมรับแล้วเพราะเชื่อกันว่าเด็กวัยรุ่นเครียดเพราะเกิดจากการแข่งแข่งขันด้านการเรียนและกิจกรรมนอกห้องเรียน ความเทียมหน้าเทียมตากับเพื่อนฝูงทั้งฝ่ายตัวเด็กและพ่อแม่ในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเรียน รวมทั้งการแข่งขันกันเองระหว่างพี่น้องของเด็ก
(2) เด็กรู้สึกสับสนในค่านิยมและความคาดหวังของเพื่อน ของพ่อแม่ โรงเรียน และของสังคม
(3) ความเป็นไปในครอบครัว เช่น พ่อแม่เทลาะกัน หย่าร้าง แยกกันอยู่ ความสัมพันธ์ของพ่อแม่กับเด็กทำไห้ตนเองรู้สึกว่าโดนทอดทิ้ง โดยเฉพาะรายใดที่พ่อแม่ไม่ยอมรับความล้มเหลวของลูกยิ่งทำไห้เด็กรู้สึกกดดันอย่างรุนแรง
(2) การป้องกัน
การศึกษารายกรณีที่เกี่ยวกับการฆ่าตัวตายมากรายทั้งในเกละผู้ใหญ่ได้ผลสรุปว่า ก่อนการฆ่าตัวตายมักมีการบอกเหตุ ล่วงหน้าเสมอๆซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองควรมองให้ออกได้แก่พฤติกรรมเหล่านี้บางประการหรือหลายๆประการรวมกัน
- หมกมุ่นกับเรื่องความตายในดนตรี งานเขียน เพลง บทกลอนต่างๆ
- พูดถึงการตายหรือการตายเสียได้ก็ดีโดยปกติแล้วเด็กมักจะพูดถึงการฆ่าตัวตายอย่างน้อยประมาณ3เดือน
-ยกสิ่งของที่มีค่าของตนไห้ผู้อื่น พยายามจัดการเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของตนให้เป็นระเบียบหมดสิ้นภารกิจและความผูกพัน
-เพิ่งพบกับความพลัดพรากจากกันไปที่สำคัญๆ เช่น การตายของพ่อหรือแม่ หรือสมาชิกในครอบครัว เพื่อนรัก การหย่าร้างของพ่อแม่ การสูญเสียคนรัก อกหัก
-หลบหน้าคนในครอบครัวและ/หรือเพื่อน
-กินไม่ค่อยได้นอนไม่ค่อยหลับ
-มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยๆหรือบ่นเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ
-ดื่มเหล้าจัดหรือติดยาบางอย่าง
-ไม่เข้าชั้นเรียน หรือเรียนไม่ค่อยรู้เรื่อง
-อารมณ์และนิสัยเปลี่ยน
-เคยมีประวัติการทำอัตวินีบาตรกรรมมาก่อน
-เศร้าซึมบ่นถึงความกังวลใจต่างๆ
3.ข้อเสนอแนะในการช่วยเหลือ
-พูดถึงเด็กเกี่ยวกับการทำอัตวินีบาตรกรมอย่างตรงไปตรงมา
-ตั้งคำถามกับเด็กว่า “หนูอยากฆ่าตัวตายหรือไม่”คำถามนี้จะทำให้เขาเปิดเผยอารมณ์และความตั้งใจที่ซ่อนอยู่ให้ตัวเองและผู้อื่นได้รับทราบอย่างเป็นรูปธรรม
-การตั้งใจฟังอย่างกำลังใจและไม่ด่าว่าเด็ก อาจทำให้เขาคิดหาทางออกอื่น ต่อปัญหาที่ทำให้เขาเจ็บปวดหาทางออกไม่ได้
-ถ้าเด็กมีอารมณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้สูง ต้องมีคนเป็นเพื่อนตลอดเวลาจนเขาคลายอารมณ์นี้ลงหรือจนกว่าจะจัดไห้เขาอยู่ในสภาพแวดล้อมทางสังคมจิตวิทยาที่ปลอดภัยต่อการฆ่าตัวตายได้
-เมื่อเด็กอารมณ์สงบ ควรจัดให้มีการช่วยเหลือทางจิตวิทยาจากผู้เชี่ยวชาญหรือและแพทย์
(เก็บใจความจาก Gormly & Brodzinsky 1989:343-344;Papalia & Olds 1993:506-510)
อาชญากรวัยรุ่น อันธพาลวัยรุ่น และวัยรุ่นที่ขาดความรับผิดชอบ
วัยรุ่นที่เป็นปัญหาตามลักษณะในข้อนี้เกิดจากสาเหตุแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและครอบครัวหลายๆประการผสมกัน ผู้รู้สาขาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปัญหาวัยรุ่นต่างได้ศึกษาปัญหานี้มาเป็นเวลานานและได้ลงความเห็นร่วมกันว่า อาชญากรวัยรุ่น อันธพาลวัยรุ่น และวัยรุ่นที่ขาดความรับชอบ “เริ่มต้นในครอบครัว”ซึ่งมีบรรยากาศดังต่อไปนี้
1. เด็กรับอารมณ์เครียดของผู้ใหญ่ในบ้าน
โดยวิธีการต่างๆ เช่น การประชดประชัน ทำโทษ ทำร้ายร่างกาย ผู้ใหญ่ที่ระบายอารมณ์กับเด็ก อาจกระทำลงไปด้วยความเกลียดชัง ความรักผิดๆ ความเบื่อ ความรำคาญ ความหงุดหงิด ก็ได้ทั้งสิ้น เมื่อผู้ใหญ่มีเรื่องกระทบจิตใจจากสาเหตุใดๆก็ตามแล้วมาลงมือกับเด็ก ถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นบางครั้งคราวก็ไม่สู้มีผลกระทบมากนักแต่ถ้าเกิดขึ้นบ่อยครั้งเด็กจะฝังใจไม่รู้ลืมจนเมื่อเขาโตเป็นวัยรุ่นเขาจะระเบิดความแค้นออกมาในรูปแบบก้าวร้าวสังคม กลายเป็นอันธพาลอาชญากร
2.เด็กที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ต้องการ
เด็กพวกนี้มักเกิดมาโดยที่พ่อแม่ยังไม่พร้อมและเต็มใจจะมีบุตร เด็กนอกสมรส เด็กไม่ฉลาด พ่อแม่มีฐานะฝืดเคืองทางเศรษฐกิจ วิธีปฏิบัติเลี้ยงดูจึงขาดความเอาใจใส่รักใคร่ตามปกติเด็กทุกคนมักมีความไวต่อการรับความรู้สึกอารมณ์ของบุคคลอื่นตั้งแต่ยังเด็กเล็กๆ เด็กจะฝังใจว่า ไม่มีใครมีไมตรีจิตต่อตนอย่างจริงจัง ฉะนั้นตนต้องทำตัวเป็นศัตรูต่อโลกให้สาสมทัดเทียมกันไม่จำเป็นต้องคิดเห็นอกเห็นใจผู้อื่นเพราะเขาเองก็ไม่เคยไดรับสิ่งเหล่านี้
3.เด็กที่ถูกตามใจจนเสียเด็ก
เด็กพวกนี้คิดว่า เมื่อเขาต้องการอะไรเขาต้องได้ ความพอใจของเขาคือกฎหมายผู้อื่นจะลำบากก็ช่าง เมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่นในรายที่เคยถูกตามใจ จนสุดเหวี่ยงจะกลายเป็นอันธพาล อาชญากร ขาดความรับผิดชอบ เพราะเขาไม่เคยเรียนรู้ที่จะเป็นผู้ไห้และเมื่อเขาต้องการสิ่งใดๆ เขาต้องได้ จะได้มาโดยวิธีใดเขาไม่คำนึงถึง ถ้าหากว่าต้องลักขโมย ฉุดคร่าหรือทำร้ายร่างกายผู้อื่น เขาย่อมทำได้ เพื่อสนองความต้องการที่เคยได้จนเป็นนิสัย
เด็กเหล่านี้มักมีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ วัยรุ่นที่ทุจริตในการสอบ วัยรุ่นที่ฐานะดีแต่มีนิสัยขี้ขโมย เหตุหนึ่งเกิดจากการเลี้ยงดูแบบถูกตามใจจนเสียเด็ก หากอยู่ในครอบครัวที่มีฐานะตำแหน่งหน้าที่การงานสูง อาจมีโอกาสได้ทำงานในตำแหน่งหน้าที่ดีๆ ตามตระกูลแต่จะติดนิสัย “เอาแต่ใจ”
6.เด็กที่พ่อแม่ปรนเปรอลูกด้วย วัตถุและเงิน อย่างล้นเหลือ
วัยรุ่นเหลือขอ
วัยรุ่นเหลือขอได้แก่วัยรุ่นประเภทชอบท้าทาย ชอบหักล้างอำนาจหรือระเบียบข้อบังคับใดๆเพราะเห็นว่าอำนาจหรือระเบียบข้อบังคับเหล่านั้นเป็นสิ่งที่คุกคามความเป็นตัวของตัวเอง ความมีอิสรเสรีส่วนบุคคล วัยเหล่านี้มักจะมาจากบ้านที่เลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขันเกินไป เจ้าระเบียบ ตั้งความหวังไว้ในตัวเด็กอย่างสูงเพื่อชดเชยความรู้สึก “ขาด” ของพ่อแม่ เด็กที่สามารถทำตามความคาดหวังของบิดามารดาผู้ปกครองได้อาจรู้สึกว่าไม่มีปัญหา แต่ถ้าทำไม่ได้และถูกบังคับหนัก จะมีปฏิกิริยาท้าทาย ชอบลองดี เข็นเท่าไรยิ่งทำตรงกันข้าม ยิ่งดุว่าเฆี่ยนตียิ่งด้านไม้เรียว บางรายถึงกับหนีออกจากบ้าน ทำตรงกันข้ามกับความคาดหวังของผู้ปกครองไปเสียเลย กลายเป็นเด็กที่ประชดโลกชีวิต และสังคม วัยรุ่นเหลือขออาจมาจากครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมดีก็ได้ ผู้ปกครองฐานะดีเหล่านี้อาจประเคนให้แก่เด็กไม่อั้น ในเรื่องทางวัตถุ แต่ขาดความเข้าใจความเห็นอกเห็นใจ ผู้ปกครองเด็กมีความรู้สึกเป็นเจ้าของชีวิตเด็ก เหมือนกับวัตถุที่มีค่าอันสูงส่งที่จะต้องปั้นให้เป็นไปตามใจปรารถนาของตนแต่ฝ่ายเดียว โดยมากแล้วผู้ปกครองเหล่านี้มักจะมี ปนด้อย ในแง่ใดแง่หนึ่ง และเห็นว่าการมีบุตรคือการทดแทนสิ่งที่ตนรู้สึกขาดแคลนในชีวิต
จอมขโมยวัยรุ่น
วัยรุ่นชอบขโมยเป็นวัยรุ่นที่เป็นภัยสังคมประเภทหนึ่ง วัยรุ่นชอบขโมยพบมากในสังคมเมืองที่ผู้คนอยู่กันอย่างแออัดยัดเยียด ชิงดีชิงเด่นในเรื่องความมั่งมีทางวัตถุ ในแหล่งที่มีผู้คนย้ายถิ่นจากแหล่งอื่นมาประกอบอาชีพและพำนักอาศัย แหล่งท่องเที่ยว ศูนย์การค้าที่มีหอพักวัยรุ่นมากมาย
ผู้ที่มีนิสัยชอบขโมยของผู้อื่นไม่จำเป็นจะต้องเป็นวัยรุ่นเสมอไป ในสังคมที่ระดับครองชีพสูงช่องว่างทางเศรษฐกิจระหว่างชนชั้นห่างมาก ปัญหาขโมยเป็นภัยสังคมที่ร้ายแรง จึงมักจะมี "หัวขโมย" ทุกวัย ทั้งสองเพศ แต่ขโมยวัยรุ่นมักจะปรากฏเป็นข่าวให้ได้ยินได้เห็นอยู่เสมอ วัยรุ่นทุกระดับการศึกษาทุกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ ทั้งโง่และฉลาด ทั้งหญิงและชายมีความประพฤติเป็น "จอมขโมย" ได้ทั้งสิ้น " ขโมยวัยรุ่น" เกิดจากสาเหตุต่างๆ เช่น
1.ขโมยเพราะความขาดแคลน
ตามหลักอาชญาวิทยาของ Lom-broso อธิบายว่าความประพฤติประเภทขโมยเกิดขึ้นกับเด็กที่พ่อแม่มีความขาดแคลนทางทรัพย์สิน ความยาก ทำให้เด็กไม่สามารถยับยั้งอารมณ์อยากจะถือครองทรัพย์สินผู้อื่น โดยเฉพาะในสังคมที่วัดความเป็นเกียรติ ความนับหน้าถือตาด้วยเงินทองและความมีทรัพย์สมบัติ และในสังคมที่มีความแตกต่างระหว่างชนชั้นอย่างรุนแรง
2.ขโมยเพราะความอิจฉาริษยา ความน้อยเนื้อต่ำใจ
บางครั้งวัยรุ่นที่ขโมยทรัพย์สินผู้อื่นนั้นเป็นแต่เพียงการต้องการแก้แค้นต้องการความเทียมหน้าเทียมตากับเพื่อน กับพี่ ๆ น้อง ๆ กับลูกของนายจ้าง อย่างเช่นปัญหาคนใช้วัยรุ่นขโมยข้าวของในบ้าน ส่วนหนึ่งเกิดจากความอยากทัดเทียมกับลูก ๆ วัยรุ่นของเจ้าของบ้าน พี่ขโมยของน้องเพราะมีความรู้สึกอิจฉาน้องว่าได้รับความรักจากพ่อแม่มากกว่าตน และมีสิ่งของมากกว่าตน
3.ขโมยเพราะเรียกร้องความสนใจ
เด็กวัยรุ่นอาจขโมยเพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ชิด จากพ่อแม่ ผู้ปกครอง จากพี่น้อง จากเพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมวัยหรือแม้แต่จากตำรวจ วัยรุ่นพวกนี้ไม่มีความรู้สึกหวาดหวั่นต่อบทลงโทษ คำด่า คำประณามใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะสิ่งเหล่านี้ทำให้เขาได้รับความสนใจจากใคร ๆ กลายเป็นคนสำคัญ คนเด่น บางครั้งบางคราว การเรียกร้องความสนใจนั้นเป็นไปในรูปต้องการแก้แค้นพ่อแม่ ผู้ปกครอง แก้แค้นสังคม
วัยรุ่นจรจัด
วัยรุ่นจรจัดมีมากในสังคมเมืองแทบทุกมุมโลก วัยรุ่นจรจัดมักเป็นวัยรุ่นที่หนีออกจากบ้าน ไร้ที่พักพิง เข้ากับพ่อแม่ไม่ได้ หรือไม่มีผู้ปกครองแท้จริง วัยรุ่นจรจัดอาจกลายเป็นวัยรุ่นที่เป็นอาชญากนขโมยหรือวัยรุ่นที่ทำความเดือดร้อนโดยประการใด ๆ ให้แก่สังคมได้
วัยรุ่นยกพวกตีกัน
วัยรุ่นยกพวกตีกันมักเป็นเพศชาย ปัญหานี้เป็นปัญหาในสถาบันการศึกษาไทยซึ่งยังไม่มีจุดจบสาเหตุการยกพวกตีกันอาจมาจากหลายๆ สาเหตุผสมกัน ซึ่งอาจกล่าวสรุปอย่างสังเขปได้ว่า
1.การรักพวกพ้อง หรือติดเพื่อน
2.การต้องการความยุติธรรมจากสังคม จากครู จากโรงเรียน หรือจากเพื่อนร่วมวัย
3.การหาอุดมการณ์ทางสังคม
4.ความกดดันทางจิตใจจากทางบ้านหรือ/และโรงเรียน
5.การต้องการเป็นคนเด่น เป็นวีรีบุรุษ
6.การหาความรักความนิยมชมชื่นจากเพื่อน
7.การแสวงหาประสบการณ์แปลก ๆ ใหม่ ๆ ตื่นเต้นเร้าใจ
8.ความต้องการแก้แค้น
9.ความต้องการรักษาศักดิ์ศรีแห่งกลุ่ม
10.การเลียนแบบรุ่นพี่หรือ/และเพื่อน จากเรื่องราวที่ได้พบเห็นในโทรทัศน์ วีดีโอ และหนังสือ
11.ความต้องการพิสูจน์ศักดิ์ศรีความเป็นชาย
วัยรุ่นติดยาหรือ/และสารเสพย์ติด
สิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองและครูของเด็กวัยรุ่นกลัวกันมากมาหลายสิบปีแล้ว คือ “การติดยา” ของวัยรุ่น เพราะหากวัยรุ่นติดยาที่ร้ายแรงอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว โอกาสหายติดยามีน้อยถ้าไม่พยามยามเลิกและตั้งใจจริง การติดยาทำให้เสียเวลารักษา เสียการเรียน เสียอนาคต เสียเงิน เพิ่มภาระให้แก่พ่อแม่ผู้ปกครอง ผู้ติดยามักมีอาการทางจิตใจในแง่ลบประการต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงอาชญากรได้ ยาที่เด็กติดมีตั้งแต่เบาไปจนถึงหนัก เช่น ยาบ้า ยาอี เหล้า สาระเหย กัญชา เฮโรฮีน ในบรรดาวัยรุ่นที่เป็นปัญหาประเภทต่าง ๆ นั้น ดูเหมือนว่าวัยรุ่นที่ติดยาเสพย์ติด จะเป็นวัยรุ่นที่เป็นภัยต่อตนเอง ต่อครอบครัว และต่อสังคมมากที่สุด
ที่กล่าวว่าเป็นภัยต่อตนเองเพราะในตอนแรกผู้ใช้ยาเสพย์ติด ไม่ว่าประเภทใด ต้องการใช้เพื่อปลดเปลื้องความกลุ้มกังวลทางจิตใจมากกว่าจากสาเหตุประการอื่น เช่น เพื่อให้หายเหงา หายเศร้าโศก หายเครียด หายเจ็บปวด แต่พอติดยาเข้าแล้วขาดยาไม่ได้ กลายเป็นความต้องการที่จำเป็นยิ่งของชีวิตร่างกายเกิดควรต้องการยาเหล่านั้นจริง ๆ ยิ่งเสพมากขึ้นปริมาณความต้องการยาก็ยิ่งเพิ่มขึ้น เพราะปริมารยาเท่าเดิมไม่ออกฤทธิ์ให้ผลดังที่ผู้เสพต้องการ จึงต้องแสวงหาเพิ่มเติมขึ้นเรื่อย ๆ ไม่สิ้นสุด
เด็กวัยรุ่นในสังคมปัจจุบันแทบทุกมุมโลก ไม่ใช่ในเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น ที่จะต้อง
เผชิญกับสิ่งแวดล้อมทางสังคม ที่ทำให้เด็กต้องตกเป็น “ เหยื่อ” ของการติดยาประเภทใดประเภทหนึ่ง หนักหน่วงยิ่งกว่าในทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากมียาเสพย์ติดหลายประเภท ราคาไม่แพงนัก และมีการซื้อขายอย่างกว้างขวางทั้งในโรงเรียนและชุนชน กลุ่มติดยาไม่ใช่เฉพาะวัยรุ่นเท่านั้น แต่ยังเป็นเด็กที่อยู่ในวัยเด็กตอนปลายอีกด้วย ในประเทศไทยปัจจุบันมีซื้อขายกันมาก และรัฐบาลพยามยามปราบปรามอย่างยิ่งคือ ยาบ้า เป็นเรื่องที่น่าเศร้าสำหรับประเทศไทยอย่างที่สุดที่มักเป็นข่าวอยู่เสมอ ๆว่า ผู้ขายยาเหล่านี้ส่วนหนึ่งคือ ผู้มีหน้ามีตาในสังคม ผู้ทำงานในองค์การของรัฐ เช่น ตำรวจ ครู ผู้ใหญ่บ้าน มิใช่เด็กวัยรุ่นเท่านั้นที่ต้องเผชิญกับสิ่งแวดล้อมที่ชวนให้เด็กติดยาเสพย์ติดได้ง่าย พ่อแม่ ผู้ปกครอง และครู ต้องเผชิญกับข้อเท็จจริงที่ว่า เด็กของเราอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการติดยาได้โดยง่ายดายทั้งโดยตั้งและไม่ตั้งใจ ความรู้เหล่านี้มีประโยชน์ในการแนะนำและอธิบายให้เด็กวัยรุ่นได้เข้าใจ รู้จักและระมัดระวังและป้องกันตนเอง และสร้างภาพครอบครัวที่มีความรักใคร่ผูกพันกันดี
Janzen et al (1993: 185) ได้สรุปสาเหตุสำคัญ ๆ ที่ทำให้วัยรุ่นติดยาและติดเหล้าดังนี้
- แรงกดดันจากเพื่อนร่วมวัย ร่วมกลุ่ม
- ความสนุก ความสุข ความพอใจ
- การอยากทดลอง
- ความเบื่อหน่าย เบื่อชีวิต ขาดความบันดาลใจ
- มีความภูมิใจในตนเองต่ำ
- ไม่สามารถเผชิญกับความเครียดในชีวิตประจำวันได้
- หลบหนีปัญหา สภาพชีวิตจริง
- วัฒนธรรมกลุ่ม สังคม เพื่อนร่วมโรงเรียน อยู่ในชุมชนที่มีคนติดยา
- การต่อต้านพ่อแม่ ครู โรงเรียน สังคม
- บุคลิกภาพต่อต้านสังคม
- มีแรงกระตุ้นรุนแรง
- มีการตอบสนองรุนแรง
- ไม่รู้จักรักษาสิทธิของตน
- มีความสามารถในการปรับตัวต่ำ
- ไม่มีความสุขในการเรียน หนีโรงเรียนซ้ำซาก
ข้อควรปฏิบัติเมื่อพ่อ แม่ ครู ผู้ปกครอง สงสัยว่าเด็กติดยา
- พูดกับเด็กโดยไม่ใส่อารมณ์ และไม่แสดงความโกรธเกรี้ยวกราดกับเด็ก
- เน้นพฤติกรรมติดยา อย่าเหมารวมเรื่องอื่น ๆ ของเด็กที่อาจเป็นปัญหาผสมผสาน
- สนใจเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน อย่าตั้งคำถามว่าทำไม อย่าขุดคุ้ยอดีต
- สื่อสารกับเด็กอย่างมีทักษะในการสื่อสาร
- แก้ไขปัญหาที่ตัวปัญหา อย่าใช้อารมณ์แก้ปัญหา
- หาความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขและป้องกันการติดยา
- หาที่พึ่งเมื่อจำเป็น เช่น ครู แพทย์ พระ
สิ่งบ่งชี้ว่าเด็กกำลังติดยา
- น้ำหนักลด
- สกปรก
- เดินไม่ปกติ เช่น เดินเซ
- พูดไม่ค่อยรู้เรื่อง
- นอนมากผิดปกติ
- ตาแดง
- ขาดเรียนบ่อย การเรียนตก
- มีปัญหาการเงิน นำสิ่งของไปจำนำ
- มีเพื่อนหน้าใหม่ตลอดเวลา
- ทำตัวเหินห่างจากครอบครัว และกิจกรรมต่าง ๆ
- ไม่สนใจงานอดิเรกที่ตนชื่นชอบ
พ่อแม่ควรทำอย่างไรบ้างเมื่อลูกเมายากลับบ้าน
- จงสงบจิตใจ
- พูดกับลูก และพยามยามค้นหาว่าลูกติดสารเสพย์ติดประเภทใด
- ถ้าเป็นมาก ๆ ต้องพาไปหาหมอ
- บอกกับเด็กว่า “ จะพูดเกี่ยวกับเรื่องพรุ่งนี้ ”
- บอกเด็กให้ไปนอน และคอยดูเป็นระยะ
- อย่าตะคอกเด็ก ด่าว่า และทุบตีเด็ก
พ่อแม่ควรทำอะไรในวันรุ่งขึ้น
- พูดกับเด็กทันทีเกี่ยวกับการเมากลับมา
- ให้เขารับผิดชอบต่อการกระทำของเขา
- พยามยามศึกษาว่าเด็กไปกับใคร ติดยากับใคร ไปที่ไหน
- บอกให้เด็กทราบว่าท่านไม่ชอบพฤติกรรมแบบนี้ และคอยติดตามดูการกระทำของเขา
อย่างใกล้ชิด
- สร้างขอบเขต และไม่ให้ออกนอกบ้านพร่ำเพรื่อ
- พูดถึงกิจกรรมอื่น ๆ ที่ทำชดเชยการติดยา
- คุมอารมณ์ให้ได้
- อย่าดื่มและสูบบุหรี่เป็นตัวอย่าง
การติดยาของเด็กวัยรุ่น (อาทิเช่น Rice 1998 ; Santrack 1999) ได้อธิบายสาเหตุที่ทำให้เด็กวัยรุ่นติดยาเสพย์ติดว่าเกิดจากทั้งสภาพจิตใจของวัยรุ่น และสิ่งแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจ ซึ่งขอสรุปรวม ๆ ดังนี้
1. ความอยากลอง
เด็กวัยรุ่นมีนิสัยอยากรู้อยากเห็น อยากทดลอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อยากลอง อยากรู้ อยากมีประสบการณ์กับ “ สิ่งต้องห้าม ” ทั้งปวง ยาเสพย์ติดเป็นเรื่องต้องห้าม ในบ้าน ในโรงเรียน ในสังคม ยิ่งถูกห้ามมากก็ยิ่งอยากลองมาก อย่างไรก็ตาม สารเสพย์ติดมีลักษณะแตกต่างจากสิ่งต้องห้ามประเภทอื่น ๆ เพราะเมื่อทดลองแล้วจะกลายเป็นความ “ กระไม่สิ้นสุด ”
2. ความอยากมีเพื่อน เอาใจเพื่อน และตามใจเพื่อน
ช่วงวัยรุ่นเป็นช่วงที่เด็กอ่อนไหวต่อการมีกลุ่มเพื่อน ทนไม่ได้ต่อการรู้สึกขาดกลุ่มเพื่อนร่วมวัยเด็กที่มีปนด้อยหรือปนเด่นในเรื่องเพื่อน คิดว่าการเสพย์ติดเป็นการสร้างไมตรีและการผูกมัดจิตใจระหว่างเพื่อน
3. ความผิดหวัง
ระยะวัยรุ่นเป็นระยะที่เด็กเต็มไปด้วยความคาดหวังในเรื่องต่าง ๆ ความคาดหวังในเรื่องเหล่านั้นมักมีลักษณะเป็นอุดมคติสูงส่ง เพียบพร้อมด้วยความสมบูรณ์แบบโรยด้วยกลีบกุหลาบ ทั้งนี้เพราะเด็กเพิ่งผ่านช่วงความฝันในวัยเด็ก และยังไม่ได้เล่นละครชีวิตที่แท้จริง ความเป็นวัยรุ่นและความคิดแบบวิพากษ์วิจารณ์ของวัยรุ่น นำเด็กไปพบกับความจริงของโลกและชีวิตซึ่งห่างไกลจากอุดมคติที่เด็กได้วางไว้ในใจ ทำให้เด็กได้รู้สึกผิดหวังอย่างรุนแรง ความรู้สึกไม่สมหวังนำมาซึ่งความโสกเศร้าเสียใจ บางรายจึงหาทางออกเพื่อให้ลืมทางผิดหวัง ความเสียใจ โดยหนีไปสู่โลกของการติดยาเสพย์ติด ความผิดหวังที่เด็กได้รับนั้นมีได้ทุกแง่มุมของชีวิต เช่น เพื่อน ความสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศ พ่อแม่พี่น้อง ความสำเร็จและความล้มเหลวในการศึกษา
4. ครอบครัว
ครอบครัวเป็นตัวผลักดันที่สำคัญที่ทำให้วัยรุ่นติดยาเสพย์ติด เมื่อวัยรุ่นติดยาเสพย์ติดเข้าไปแล้ว บุคคลในครอบครัวของวัยรุ่นก็มีส่วนชอกซ้ำพอ ๆ กับวัยรุ่น นอกเหนือจากความทุกข์ทรมานทางจิตใจแล้ว ยังมีความทุกข์จากรายจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าซื้อยาเสพย์ติด ความอับอายขาดหน้าที่มีลูกหลานวัยรุ่นติดยา แต่หากมองในมุมลบ ครอบครัวนั้นแหละที่มีส่วนเร่งเร้าให้เด็กวัยรุ่นติดยา ครอบครัวเหล่านี้ เช่น ครอบครัวที่ไม่ให้กำลังใจแก่เด็ก ในระยะวัยรุ่นเด็กต้องเผชิญกับปัญหาการปรับตัวแทบทุกทาง เช่น การปรับตัวทางกาย ทางสังคม การคบกับเพื่อนต่างเพศ การเลือกแนวทางอาชีพ และความสำเร็จในการศึกษา สภาพเหล่านี้เด็กผิดหวังง่าย อารมณ์เปราะบาง ขาดความมั่นใจในตัวเองได้ง่าย
5. สถาบันการศึกษา
สถาบันการศึกษาที่วัยรุ่นได้เข้าไปเรียนไม่ว่าในระดับใด ประเภทใด มีความเกี่ยวพันกับการติดยา เสพย์ติดของวัยรุ่นเช่นกัน เพราะในสถาบันเหล่านี้เป็นสถาบันที่วัยรุ่นได้มาชุมนุมกันวันละหลายชั่วโมงคำบอกเล่าเรื่องยาเสพย์ติดจากเพื่อนร่วมวัยมีส่วนสำคัญมากที่สุดที่จะชักจูงให้วัยรุ่นอื่น ๆ อยากทดลองเสพยาประเภทเสพย์ติด จนในที่สุดกลายเป็นวัยรุ่นที่ติดยา โดยเฉพาะวัยรุ่นที่ไม่ได้อยู่กับครอบครัวบิดามารดาของตนมีแนวโน้มจะถูกเพื่อนชักจูงได้ง่าย อย่างไรก็ดี สถาบันการศึกษาก็เป็นแหล่งที่จะป้องกันและแก้ไขยาเสพย์ติดให้แก่เด็กวัยรุ่นได้อย่างดี โดยการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ตลอดจนการสังเกตเด็กที่เริ่มติดยา และนำไปรักษาแก้ไขให้ทันเวลา

วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2551

เรียงความ เรื่องชีวิตในวัยเด็กของข้าพเจ้า

เรียงความ เรื่องชีวิตในวัยเด็กของข้าพเจ้า
ดิฉันชื่อนางสาว อุไรวรรณ บุญโจม 48010820559 (ETC)
ชื่อเล่นไอซ์
แม่ของดิฉันอุ้มท้องดิฉันอยู่ 9 เดือน ดิฉันเกิดวันที่ 6 พ.ย. 2529
แล้วดิฉันก็ออกมาดูโลก แม่บอกกับดิฉันว่าตอนที่ตั้งท้องแม่อยากได้ลูกสาว มาก ๆ และดิฉันก็ทำความฝันของแม่ได้สำเร็จ ดิฉันมีพี่ชาย 1 คน พี่ชายของดิฉันจะมีอายุหางกับดิฉันไม่มากนักแค่ปีเดียวเองมีของเล่นอะไรก็จะแย่งกันและโดนพี่ชายรังแกอยู่บ่อยครั้ง เพราะตอนเป็นเด็กดิฉันชอบร้องไห้และชอบไปฟ้องแม่และพ่ออยู่บ่อยๆ
ตอนอายุ 1-2 เดือนดิฉันเริ่มคราญได้เหมือนเด็กทั่วๆ ไป
ตอนอายุ 2-5 เดือนดิฉันเริ่มนอนหงายได้
ตอนอายุ 5-8 เดือนดิฉันเริ่มนั่งได้แต่จะต้องมีอะไรมาพิงหลังเพื่อไม่ให้ล้ม
แต่ช่วงนี้แม่บอกว่า ดิฉันชนมากเมื่อจับได้อะไรก็จับเข้าปากหมด แต่ว่าดิฉันเป็นเด็กเลี้ยงง่าย
ตอนอายุ 8-10 เดือน ดิฉันเริ่มนั่งได้ด้วยตัวเองโดยไม่ใช้อะไรมาพิงเหมือน
ตอนอายุ 5-8 เดือน และในขณะเดียวกันดิฉันก็เริ่มวิ่งได้แต่ชอบล้มหัวแตกอยู่บ่อยครั้ง
และมีครั้งหนึ่งพ่ออุ้มดิฉันแต่ว่าดิฉันร้องไห้จนพ่อรำคราญก็เลยโยนขึ้น
เพื่อต้องการที่จะให้ดิฉันหยุดร้องไห้และหัวเราะ แต่พ่อกลับลืมรับดิฉันทำ
ให้ดิฉันตกลงมา แต่ก็แปรกดิฉันกลับไม่เป็นอะไรเลยแค่ร้องไห้เฉย ๆ
ตอน 10-12 เดือน ดิฉันเริ่มยืนได้ด้วยตัวเอง และก็เริ่มวิ่งได้แล้ว
แต่ก็ชอบล้มอยู่บ่อย ๆ และโตขึ้นมาหน่อยก็เริ่มที่จะผึ้งพาอาศัยตนเองโดยการหัดเดิน
และเล่นอยู่คนเดียวโดยไม่ต้องให้พ่อแม่มาคอยเฝ้า แต่ตอนเป็นเด็ก
ดิฉันไม่ชอบกินนมทำให้ตัวเล็ก และเตี้ยด้วย เมื่อแม่ให้กินนมดิฉันก็จะแกล้งเป็นทำนมหก
และแม่ก็ชงให้ใหม่ ดิฉันก็เลยต้องกินเพราะนมหกรอบ สองคงเป็นไปได้อยาก(เดี๋ยวจะโดนตี)
ตอนเด็กดิฉันเป็นเด็กฉลาดแต่ในเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องเช่น เวลาโดนพี่ชายตี
ดิฉันจะชอบร้องให้แต่กว่าแม่จะกลับมาดิฉันก็หยุดร้องสักครู่พอเจอหน้าแม่ดิฉันก็จะร้องขึ้นมาทันที ทำให้พี่ชายหมั่นไส้มาก เลยชอบตีดิฉันอยู่บ่อยครั้ง ในเรื่องของสติปัญญาก็อยู่ในระดับปานกลาง คือไม่โง่และ ไม่ฉลาดเกินชาวบ้านชาวเมือง ดิฉันเป็นเด็กเลี้ยงง่ายไม่ค่อยเจ็บป่วย